วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

The Pizza Company

ประวัติความเป็นมาของ The Pizza Company
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี (The Pizza Company) เป็นร้านอาหารประเภทพิซซ่าจัดการโดย The Minor Food Group มีจุดเริ่มต้นเมื่อปี 1981 ครั้งเป็นบริษัทผู้รับเฟรนไชส์ของพิซซ่าฮัทของประเทศไทย ต่อมาในปี 2001 หมดสัญญากับทางพิซซ่าฮัท ทำให้ The Minor Food Group จึงหันมาทำร้านพิซซ่าเป็นของตัวเองในชื่อ "เดอะ พิซซ่า คอมปะนี" โดยมีแฟรนไชส์ในหลายประเทศ บริหารโดยบริษัทที่กรุงเทพ มีสาขาในต่างประเทศ อย่างเช่นใน คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดิอาราเบีย จีน ฟิลิปปินส์ และ กัมพูชา
4P’s
Product
เดอะพิซซ่า คอมปะนี ใช้กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) โดยทำการออกแบบพิซซ่ารูปแบบใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เน้นการเพิ่มชีสและเครื่อง 30% เช่น เมนู เอ็กซ์ แพนพิซซ่า ที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีการนำพิซซ่ามาประ ยุกต์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศให้ได้มากที่สุด
Price
ใช้ราคาเดียว คือ 199 บาท สั่งได้ทุกหน้าพิซซ่าในราคาเดียวกัน
Place
ทำการกระจายร้านค้า 150 สาขาทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นนำกลับและบริการส่งตรงถึงบ้าน (Delivery) 70 สาขา และนั่งรับประทานที่ร้าน 80 สาขา ซึ่งทำให้บริษัทฯสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่าคู่แข่งขัน 2 เท่า เพิ่มบริการส่งตรงถึงบ้าน (Delivery) ครอบคลุมพื้นที่ 100% ใช้ระยะเวลาในการส่งไม่เกิน 30 นาที ถ้าเกินกว่านี้บริษัทจะไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆและมีการวางแผนขยายสาขาภายในประเทศอีก 30 สาขา ครอบคลุม 52 จังหวัด ทั่วประเทศ และขยายสาขาในต่างประเทศเพิ่มอีก 50 สาขาทั้งในตลาดตะวันออกกลางและเอเซีย
Promotion
1. มีการเพิ่มงบสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ เนื่องจากสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มาก ที่สุด เป็นการรักษาส่วนครองตลาด มีการสร้างความรู้สึกแตกต่างให้กับลูกค้าเมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน
2. มีการส่งเสริมการขาย โดยทำการลดราคาเหลือ 199 บาท สั่งพิซซ่าได้ทุกหน้าในราคาเดียวกัน มีการแจกของแถมตามแต่ละช่วงเทศกาล

กลยุทธ์ของ The Pizza Company
 กลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าโดยใช้ P' Product เป็นการทำตลาดหลักๆที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์พิซซ่า ซึ่งเป็นตัวสินค้าให้ออกมาในรูปแบบใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ด้วยสร้างความหลากหลายในด้านเมนูอาหาร เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้วยการลดจุดด้อยของความเป็นอาหารอิตาเลียนที่ไม่คุ้นลิ้นคนไทย โดยเปิดตัวพิซซ่าหน้าใหม่ๆ รสชาติจัดแบบไทยไทย ที่มีการนำอาหารไทยมาประยุกต์เช่น พิซซ่าหน้าต้มยำกุ้ง เป็นต้น
 กลยุทธ์โดยใช้ P’ Price ราคาเดียว คือ 199 บาท สั่งได้ทุกหน้าพิซซ่าในราคาเดียวกัน ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคาพิซซ่าไม่แพง ซึ่งเป็นเครื่องมือในการขยายฐานลูกค้า
 กลยุทธ์โดยใช้ P' Place ในการเข้าถึงลูกค้า โดยปัจจุบันเดอะ พิซซ่า คอมปะนี มีจำนวนร้านค้า 150 สาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็นรูปแบบสั่งนำกลับและดิลิเวอรี่ 70 สาขา และ 80 สาขาในรูปแบบนั่งรับประทานที่ร้าน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สามารถ เข้าถึงลูกค้าได้มากกว่า
 กลยุทธ์โดยใช้ P ’ Promotion มีการส่งเสริมการขาย โดยทำการลดราคาเหลือ 199 บาท สั่งพิซซ่าได้ทุกหน้าในราคาเดียวกัน มีการแจกของแถมตามแต่ละช่วงเทศกาล
 เพิ่มบริการส่งตรงถึงบ้าน (Delivery) ครอบคลุมพื้นที่ 100% ใช้ระยะเวลาในการส่งไม่เกิน 30 นาที ถ้าเกินกว่านี้บริษัทจะไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆรวมทั้งยังสามารถสั่งพิซซ่าทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วย
 กลยุทธ์พรีเซ็นเตอร์คืออาวุธลับที่เดอะพิซซ่าใช้มาตลอด
 กลยุทธ์การตลาด Pizza Companyใช้ทั้งกิจกรรม Above the line และ Below the line โดยมุ่งติดต่อกับผู้บริโภคในทุกจุด
 การใช้กลยุทธ์สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งของเดอะ พิซซ่า คอมปะนี คือ การสร้างแบรนด์ด้วยกลยุทธ์ของกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ต เนื่องจากสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็ว ช่วยสร้างการรับรู้และการจดจำได้เร็วขึ้น และกลยุทธ์นี้ยังใช้สนับสนุนแผนการขยายสาขาธุรกิจอาหารในต่างประเทศที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ 20 สาขาในภูมิภาคเอเชียประกอบด้วยจีน ตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน


Above the line
 TVC







 Print Ad.


 Out Of Home


Below the line
 ได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักของโครงการยูบีซี อาคาเดมี่ แฟนเทเชีย
 เดอะพิซซ่า คอมปะนี ยังได้ร่วมมือกับแกรมมี่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ จัดแคมเปญพิเศษเพียงโทรสั่งพิซซ่าที่ 1112 วันนี้รับสิทธิพิเศษสามารถซื้อซีดีเพลงอัลบัมใหม่ของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ได้ในราคาสุดพิเศษ
 แคมเปญ “อิ่มอร่อยคุ้มค่ากับบัตรเติมเงินวัน-ทู-คอล! ลายเดอะ พิซซ่า คอมปะนี 1112” ในครั้งนี้ ง่ายๆ เพียงลูกค้าวัน-ทู-คอล! ทุกท่านซื้อบัตรเติมเงิน ลายเดอะ พิซซ่า คอมปะนี 1112 นอกจากจะเติมเงินได้ 100 บาท เต็มตามจำนวนหน้าบัตรแล้ว ยังสามารถใช้เป็นส่วนลด 100 บาทได้ทันที เมื่อซื้อพิซซ่า Extreme (ขอบไส้กรอก ชีส เบคอน) ทุกหน้า โดยสามารถรับสิทธิพิเศษนี้ได้ทุกที่ทั้งที่ร้านและที่บ้าน โดยวัน-ทู-คอล! ได้ผลิตบัตรเติมเงินดังกล่าวเป็นจำนวนถึง 10 ล้านใบ รวม 5 ลายด้วยกัน เพื่อให้ลูกค้าอิ่มอร่อยอย่างคุ้มค่าได้

กลยุทธ์ที่จะทำให้ Pizza Company กลายเป็น Global Brand
1. ทำการ Rebranding ใหม่ โดยเริ่มจากการสร้างภาพลักษณ์ให้ดูเป็นร้านอาหารที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
มีความเป็นแบรนด์อินเตอร์มากขึ้น ในสายตาของชาวต่างประเทศ และคนไทย
2. เลือกใช้วัตถุดิบ ที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ original ของแต่ละที่ เป็นสากล พร้อมกับการประชาสัมพันธ์
ถึงความใส่ใจในการเลือกวัตถุดิบ ที่มา และขั้นตอนการผลิตที่ทาง Pizza Company ได้ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
3. ทำให้เป็นมาตรฐานในทุกขั้นตอนการผลิต ว่าควรใช้อุณหภูมิเท่าไหร่ในการอบแป้งพิซซ่าเพื่อให้มีกลิ่นที่หอมกรุ่น
และแป้งที่กรอบนอกนุ่ม การปรุงอาหาร ควรใช้เทคนิคพิเศษอะไรในการปรุงอาหาร รวมไปถึงการบริการ โดยการอบรมพนักงานให้มีมาตรฐานในการบริการ ควรจะทักทายอย่างไร และควรจะบริการอย่างไงให้ประทับใจ โดยรู้ถึงสิ่งที่ผู้บริโภคลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องการ
4. รสชาติ ต้องปรับให้เข้ากันทั่วโลก ต้องเข้าใจว่าทุกคนทั่วโลกทั้งเอเชีย และยุโรป ต้องการรสชาติแบบไหน
แต่ต้องมีเอกลักษณ์ ต้องเป็น Pizza ที่มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เข้ากับแบรนด์ กินได้ทั่วโลก คนส่วนใหญ่ชอบ
5. เพิ่มช่องทางในการติดต่อกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น ในการที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะทำการติดต่อกับ
แบรนด์ ไม่ว่าเป็นสื่อ Above the Line และ Below the Line รวมทั้งใช้สื่อใหม่ๆ และสื่อออนไลน์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น เพราะ Lifestyle ของผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป เช่น Pizza Company อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็น Sponsor ให้กับงานระดับโลก หรืองานที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก หรืออาจจะไปเป็นตัวเลือกในเมนูของสายการบินระดับโลกที่บินไปยุโรป และเอเชีย
6. ปรับที่ราคา ให้ดูเหมาะสมและเข้ากับวัตถุดิบที่มาจากแหล่งกำเนิด
7. เลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก อาจจะใช้ทั้งชาวเอเชีย และชาวยุโรป เช่น Jackie Chan

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คณะผู้จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา

จัดทำโดยนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
วิชา International Advertising
เลขที่ รหัสนักศึกษา ชื่อ-นามสกุล
1) 1490300942 ปกรณ์ ธีรกรรัชต์
3) 1490300983 สุปกรณ์ มณีรัตนาพฤกษ์
5) 1490302864 ชานนท์ อัศววรชัย
7) 1490303367 ณัฐญาณี เอื้อพูนทวี
8) 1490303383 กรรณิกา ท่าจีน
10) 1490303912 วิธวินท์ ฤทธิเดช
18) 1490316153 จตุรพร สุธีประเสริฐ
19) 1490317193 กู้เกียรติ พรวิจิตรจินดา
25) 1490322672 ภานุ จารุสินธนากร
32) 1490329560 กนกพร ธรรมประเสริฐดี

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Brand Stategy of World Brand

การดำเนินกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เพื่อขึ้นสู่เวทีแบรนด์โลก
การดำเนินกลยุทธ์ที่ทำให้ KFC ประสบความสำเร็จจนติดเป็นแบรนด์ที่ 64 ของโลก
(จัดอันดับตามมูลค่าของแบรนด์)
เหตุผลที่ KFC ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 100 แบรนด์ของโลก ได้ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เพราะ KFC เป็นแบรนด์ที่มีการสร้างมาตรฐานในด้านคุณภาพของอาหาร ให้มีความสดใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากไก่ทอดได้อย่างเต็มที่ ทั้งในด้านรสชาติ และประโยชน์ในด้านโภชนา พร้อมยังคิดค้นสูตรเมนูใหม่ๆเพื่อให้เข้ากับรสชาติความเป็นกลางเข้าได้กับทุกประเทศ โดยให้มีมาตรฐานเดียวกัน เรียกได้ว่าถูกปากทุกคนนั้นเอง และยังใช้เครื่องอบที่มีคุณภาพเพื่อให้เหมาะสมกับการทอดไก่ที่เป็นสูตรเด็ดของทาง KFC ที่ทำให้เนื้อไก่มีความกรอบนอกนุ่มใน เป็นมาตรฐานในการทอดของ KFC
การก้าวเข้ามาเป็นแบรนด์ Global ของ KFC ไม่ใช่เรื่องง่าย KFC ต้องทำกลยุทธ์มากมายกว่าจะมาถึงจุดๆนี้ได้ ก่อนอื่นก็ต้องคิดถึงและเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างดีก่อน โดยการขยายสาขาออกไปในหลายๆจุด เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และการแตกไลน์สินค้าให้กว้างมากขึ้น ให้มีความหลายหลายเพื่อเอาใจไลฟ์สไตล์และความชอบของลูกค้าแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการใช้สื่อต่างๆครบ 360 องศา ในการสื่อสารทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นสื่อ Above the Line และ Below the Line เพื่อให้ครอบคลุมในการสื่อสารทางการตลาดมากที่สุด และยังเน้นย้ำสื่ออินเตอร์เน็ต และการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรงเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น มาถึงตอนนี้คงไม่มีใครแปลกใจ ที่ KFC ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ติดอันดับโลกในด้านความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไก่ทอด
***********************************************

กลยุทธ์ที่ทำให้ PIZZA HUT ประสบความสำเร็จจนติดเป็นแบรนด์ที่ 81 ของโลก
(จัดอันดับตามมูลค่าของแบรนด์)

เหตุผลที่ Pizza Hut ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 100 แบรนด์ของโลก ได้ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เพราะ Pizza Hut เป็นแบรนด์ที่มีการสร้างมาตรฐานพิซซ่าได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการคัดสรรในการเลือกวัตถุดิบที่จะมาทำหน้าให้กับพิซซ่า และยังคิดค้นหน้ารสชาติต่างๆ ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เลือกสรร เพื่อตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความชอบในแต่ละบุคคล และเข้ากับวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ แต่ก็ยังไม่ละเลยที่จะวางมาตรฐานความเป็นกลางในด้านรสชาติ ให้เข้ากับทุกๆประเทศที่ Pizza Hut ได้เข้าไปจับจองพื้นที่ และ Pizza Hut ยังได้ย้ำถึงจุดยืนของการบริการที่รวดเร็ว เพื่อไม่ให้ลูกค้าต้องคอยนาน เพราะการบริการที่รวดเร็วและคุณภาพอาหารที่ดีเยี่ยม สดใหม่ หอมกรุ่นจากเตาอบ เป็นจุดประสงค์ที่ทาง Pizza Hut ย้ำมาตลอดเพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจตรงกัน พร้อมยังมีกฎระเบียบที่ชัดเจน ว่าถ้าเกินเวลาที่กำหนด Pizza Hut ใจปล้ำยินดีให้มื้อนั้นกินฟรี เป็นการทำให้แบรนด์ Pizza Hut มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นพร้อมยังเป็นการตอกย้ำ และสร้างการจดจำให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี Pizza Hut ยังใช้สื่อต่างๆครบ 360 องศา ในการสื่อสารทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นสื่อ Above the Line และ Below the Line เพื่อให้ครอบคลุมในการสื่อสารมากที่สุด และที่สำคัญที่ยังทำให้ Pizza Hut กลายเป็นแบรนด์พิซซ่าติดอันดับโลก คงจะปฏิเสธไม่ได้เพราะแบรนด์ Pizza Hut เข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง โดยเล่นกับ sex appeal และ emotional ได้เป็นอย่างดี พร้อมยังสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ Pizza Hut กลายเป็นแบรนด์ที่เกี่ยวกับ Family ใส่ใจครอบครัว เหมือนว่าเมื่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้ามาบริการในร้าน Pizza Hut ก็จะได้ความสุข เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าท่านจะมากับเพื่อน พี่น้อง หรือใครก็ตาม และ Pizza Hut ยังเป็นแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย จึงไม่แปลกใจเลยที่ Pizza Hut จะกลายมาเป็นแบรนด์ที่เชี่ยวชาญในด้านพิซซ่าติดอันดับโลก
***********************************************
กลยุทธ์ที่ทำให้ McDonald's ประสบความสำเร็จจนติดเป็นแบรนด์ที่ 8 ของโลก
(จัดอันดับตามมูลค่าของแบรนด์)

เหตุผลที่ McDonald's ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 100 แบรนด์ของโลก ได้ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เพราะ McDonald's เป็นแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ในก้าวขึ้นมาติดอันดับโลกโดยการ เป็นแบรนด์ฟาสฟู๊ดที่เน้นการบริการที่รวดเร็วภายใน 60 วินาที และเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจในคุณภาพ และความสะอาด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือแม้แต่ในร้านที่ให้บริการ เรียกได้ว่าสนใจและใส่ใจกับความสะอาด และยังให้ความสนใจคุณภาพอาหารโดยการใช้อุณหภูมิที่พอเหมาะกับอาหาร ก่อนส่งมอบให้ลูกค้าเพื่อความสดใหม่ และรสชาติที่ดี และประเด็นสำคัญที่ทำให้ McDonald's ได้ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ติดอันดับคงปฎิเสธไม่ได้ว่า McDonald's เป็นแบรนด์ที่ถูกใจของเหล่าเด็กน้อย เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่สร้างจุดยืนว่าเป็นแบรนด์ที่ให้ความสุข สนุกสนานและใช้สัญลักษณ์ ของโบโซ่ ตัวตลกที่ใครๆก็รู้จักในการตอกย้ำความสนุกสนานและสร้างความสุขให้กับแบรนด์ McDonald's ได้อย่างลงตัว และ McDonald's ยังได้ทำการแตกไลน์สินค้าเยอะมาก เพื่อให้มีความหลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แต่สินค้าที่เป็นจุดเด่นในการสร้างความสนุกสนานให้กับแบรนด์ McDonald's นี้คงจะเป็นชุด แฮปปี้มีล ที่ McDonald's ให้ความสำคัญเป็นอย่างดี ใส่ใจกับของเล่นที่อยู่ในชุด เพื่อที่จะถ่ายทอดความน่ารัก ความสนุกสนานในตัวของเล่นที่แถมกับไปชุด ไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก จึงทำให้ McDonald's กลายเป็นแบรนด์ที่ติดครองอันดับในใจเด็กๆไปอีกรางวัล และแบรนด์ McDonald's ยังเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจต่อสังคม รับผิดชอบต่อสังคม เข้าใจถึงจิตใจของผู้บริโภค และสร้างมาตรฐานในการบริการและการรักษาความสะอาด และยังทำการสื่อสารการตลาดแบบครบ 360 องศา เพื่อครอบคลุมและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ทำให้ McDonald's จะกลายเป็นแบรนด์ระดับโลกที่ใครก็รู้จัก และให้การยอมรับอย่างดีในความเป็นแบรนด์ฟาดฟู๊ดที่บริการรวดเร็ว และใส่ใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และความสะอาดในทุกๆที่เราไปอยู่
***********************************************
กลยุทธ์ที่ทำให้ STARBUCKS ประสบความสำเร็จจนติดเป็นแบรนด์ที่ 85 ของโลก
(จัดอันดับตามมูลค่าของแบรนด์)

เหตุผลที่ STARBUCKS ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 100 แบรนด์ของโลก ได้ซึ่งไม่น่าแปลกใจเลย เพราะ STARBUCKS เป็นแบรนด์ที่มีการสร้างมาตรฐานได้อย่างดีเยี่ยม ในทุกๆรายละเอียด และมีการวางมาตรฐานแห่งการเป็น Global Brand ที่ให้ทุกๆที่ที่ STARBUCKS เข้าไปจับจองพื้นที่ มีความเหมือนกันในทุกๆรายละเอียดได้อย่างลงตัว และเข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริการจากทางร้าน การใช้สัมผัสทั้ง 5 ในการสร้างแบรนด์ที่จะทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับแบรนด์ STARBUCKS อย่างใกล้ชิดเวลาที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการภายในร้าน ซึ่งก่อให้เกิดการจดจำที่ดี การจำหน่ายสินค้าของแบรนด์ STARBUCKS รวมไปถึงการอบรมพนักงานให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า มีใจรักในการบริการ และมีกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการควบคุมต่างๆ เช่นการไม่ให้พนักงานสูบบุหรี่ หรือใส่น้ำหอม พร้อมกันนี้ STARBUCKS ยังเป็นแบรนด์ที่ได้มาตรฐานในเรื่องการคัดสรรวัตถุดิบของกาแฟที่ดี คัดสรรคุณภาพเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์กาแฟแต่ละแก้ว ได้อย่างลงตัว และเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละคน และแบรนด์ STARBUCKS ยังเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และเป็นแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคม ทำความเข้าใจให้ถึงแก่นแท้ภายใจจิตใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี STARBUCKS จะเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ที่ให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงความเป็นแบรนด์ STARBUCKS ที่ดีในใจ โดยการบอกว่าแสดงตัวตนว่าเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม
การก้าวเข้ามาเป็นแบรนด์ Global ของ STARBUCKS ได้มีการทำกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาออกไป เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้มากที่สุด และการแตกไลน์สินค้าให้กว้างมากขึ้นเพื่อเอาใจไลฟ์สไตล์ความชอบของลูกค้าแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการใช้สื่อต่างๆครบ 360องศา ในการสื่อสารทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็นสื่อ Above the Line และ Below the Line เพื่อให้ครอบคลุมในการสื่อสารมากทีสุด
มาถึงตอนนี้จึงไม่แปลกใจ ที่แบรนด์เจ้าแห่งท้องทะเลในการมีชื่อเสียงติดระดับโลกในด้านกาแฟ จะเป็นใครไม่ได้นอกจาก STARBUCKS เพราะ STARBUCKS ได้ใช้กลยุทธ์ในหลายๆด้านมาผสมผสานได้อย่างลงตัวในการบ่งบอกความเป็นแบรนด์ STARBUCKS ที่ทำให้ประสบความสำเร็จติดระดับโลก เป็นแบรนด์ที่วางมาตรฐานในทุกๆที่ให้เหมือนกัน ใส่ใจในทุกๆรายละเอียดได้เป็นอย่างดี และการเข้าถึงจิตใจของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้สัมผัสทั้ง 5 และการให้บริการของพนักงาน ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ลูกค้าได้เหมือนมีประสบการณ์โดยตรงร่วมกับแบรนด์ STARBUCKS ได้อย่างถึงแก่น และการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและให้ความสำคัญกับการคัดสรรวัตถุดิบ จนทำให้ทุกวันนี้แบรนด์ STARBUCKS กลายเป็นแบรนด์ที่ไม่มีใครไม่รู้จักว่าเป็นแบรนด์ที่เยี่ยมยอดในการชี่ยวชาญเกี่ยวกับกาแฟได้เท่า STARBUCKS อีกแล้ว
***********************************************

STARBUCKS



ประวัติสตาร์บัคส์
สตาร์บัคส์ได้รับการยอมรับเสมอมาในฐานะผู้นำทางด้านธุรกิจกาแฟ ถ้าย้อนไปในปี 1971 ลูกค้าต้องเดินทางไกลไปถึงตลาดไพค์ เพลส (Pike Place Market) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นร้านสตาร์บัคส์ คอฟฟี่ร้านแรกของเรา
ช่วงทศวรรษที่ 70 หรือเริ่มต้นปี พ.ศ. 2514
ร้านกาแฟสตาร์บัคส์แห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้น โดยตั้งชื่อร้านจากตัวละครในเรื่อง Moby Dick นวนิยายคลาสสิกสมัยศตวรรษที่ 19 ของอเมริกา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับปลาวาฬ นวนิยายดังกล่าวประพันธ์โดย Herman Melvilles สตาร์บัคส์เชื่อว่า การนำชื่อสิ่งที่อยู่ไกลโพ้นทะเลมาตั้งเป็นชื่อร้านนั้นมีความเหมาะสม เพราะเปรียบเสมือนการเสาะแสวงหาเมล็ดกาแฟที่ดีที่สุดในโลกมาให้ผู้คนในเมืองซีแอตเติลได้ลิ้มลอง
ช่วงทศวรรษที่ 80 หรือเริ่มต้นปี พ.ศ. 2524
มร. โฮวาร์ด ชูลท์ส ร่วมงานกับสตาร์บัคส์ในปี พ.ศ. 2525 หรือค.ศ. 1982 ในระหว่างที่เขาเดินทางไปเจรจาธุรกิจที่ประเทศอิตาลี เขารู้สึกประทับใจกับร้านเอสเพรสโซ่ที่มีชื่อเสียงในเมืองมิลานที่เขาแวะไปเยี่ยมชม ทั้งในรูปแบบและความเป็นที่นิยมของร้าน ร้านดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากที่จะสร้างร้านแบบนี้ในเมืองซีแอตเติล และก็เป็นไปอย่างที่เขาคาดการณ์ไว้ หลังจากความพยายามในการทดลองสูตรทั้งกาแฟ ลาเต้ และ เอสเพรสโซ่ เพียงไม่นานเมืองซีแอตเติลก็กลายเป็นเมืองแห่งกาแฟไปอย่างรวดเร็ว
ช่วงทศวรรษที่ 90 หรือเริ่มต้นปี พ.ศ. 2534
สตาร์บัคส์เริ่มขยายธุรกิจจากเมืองซีแอตเติล ไปทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก สตาร์บัคส์เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่มีการปันหุ้นให้กับพนักงานรายชั่วโมง และในเวลาเพียงไม่นาน บริษัท สตาร์บัคส์ ก็เป็นบริษัทที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา
ปรากฎการณ์ความนิยมสตาร์บัคส์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน สตาร์บัคส์มีร้านกาแฟกว่า 6,000 แห่งใน 30 ประเทศทั่วโลก นอกจากกาแฟเอสเพรสโซ่รสชาติเยี่ยมแล้ว ลูกค้ายังสามารถเพลิดเพลินกับชาทาโซ่ และแฟรบปูชิโน่เครื่องดื่มปั่นสูตรพิเศษจากสตาร์บัคส์ได้อีกด้วย
สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ประเทศไทย
ร้านสตาร์บัคส์ คอฟฟี่ได้เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ. ห้างเซ็นทรัล ชิดลม โดยบริษัท คอฟฟี่ พาร์ทเนอร์ส จำกัด อันเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ จำกัด และ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาเป็นผู้ริเริ่มแนะนำสตาร์บัคส์ให้แก่ลูกค้าชาวไทย
ในเดือนกรกฎาคม 2543 บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ จำกัด ได้เข้ามาถือสิทธิ์กิจการทั้งหมดของบริษัทคอฟฟี่ พาร์ทเนอร์ส จำกัด อันเป็นผลทำให้สตาร์บัคส์ในประเทศไทยดำเนินงานโดยบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ประเทศไทย จำกัด นับจากนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันมีร้านกาแฟสตาร์บัคส์ในประเทศไทยอยู่ 133 สาขา
ตำนานของ Starbucks
ฝ่ายการตลาดของ Starbucks พยายามช่วยทีมงานออกแบบโดยสำรวจลึกลงไปในโลกของคอกาแฟ ผลการสำรวจทำให้ได้ข้อสรุปว่าในร้านควรมีเรื่องราวเกี่ยวกับกาแฟพันธุ์ต่างๆ จากพื้นที่เพาะปลูกทั่วโลก และเครื่องปรุงกาแฟหลายหลากชนิด ที่สำคัญคือควรมีตำนานของร้านเองด้วย
ตำนานของร้านสื่อออกมาในรูปของโลโก้ ที่ทำเป็นรูปของนางพรายน้ำหรือ Siren เนื่องจากชื่อ Starbucks ได้มาจากชื่อกัปตันตัวเอกในเรื่องล่าปลาวาฬ จึงเป็นการดีที่จะใช้นางไซเรนเป็นโลโก้เพราะตามตำนานเล่าว่านางมักร้องเพลงล่อหลอกชาวเรือให้หลงใหลอยู่เสมอ หลังจากทำงานอยู่หลายวัน ก็ได้นางไซเรนให้เลือกถึง 6 แบบ รวมทั้ง แบบที่เรียกตลกๆ ว่า “Bad Hair Day Siren” ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

***************************************
นโยบายการดำเนินงานของสตาร์บัคส์
สตาร์บัคส์เป็นดั่งผู้เสาะแสวงหาเมล็ดกาแฟที่ดีที่สุดจากทั่วทุกมุมโลก ในขณะที่เราเจริญเติบโต เรายังคงรักษากฎอย่างเคร่งครัดในการคงไว้ซึ่งคุณภาพ และมาตรฐานอันดีเยี่ยม หลักการทั้ง 6 ข้อนี้เป็นสิ่งช่วยวัดความเหมาะสมในการตัดสินใจของStarbucks:
$ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน และปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมงานทุกคนด้วยความเคารพ
$ การคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
$ การประกอบธุรกิจในการสั่งซื้อ การคั่วกาแฟ และการปรุงกาแฟเป็นพิเศษเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน
$ การทำงานด้วยความกระตือรือร้นเพื่อส่งเสริมให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจอย่างสูงสุดตลอดเวลา
$ ช่วยเหลือและสนับสนุนในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมของเรา
$ ตระหนักว่าการมีผลกำไรเป็นสิ่งสำคัญของความสำเร็จในอนาคตของเรา

ประเทศต่างๆที่มี สตาร์บัคส์ จำหน่ายอยู่


4P’s
Product สินค้าในร้านมีทั้งกาแฟ ถั่วชนิดต่างๆ ขนมอบ อาหาร และเครื่องดื่ม รวมทั้งอุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟหรือเครื่องบดกาแฟ นอกจากนั้น สตาร์บัคส์ ยังซัพพลายถั่วชนิดต่างๆ ให้กับร้านอาหาร บริษัทธุรกิจ สายการบิน และโรงแรม อีกทั้งมีสินค้า ที่สั่งซื้อได้ทางไปรษณีย์ และแค็ตตาล็อกระบบออนไลน์ด้ว
Price การตั้งราคาตั้งราคาสูง เพื่อให้สินค้าดูเป็นสินค้าPrenuim และเป็นราคาค่าซื้อประสบการร์จากร้าน Starbucks อีกด้วย
Place สถานที่จำหน่ายของ สตาร์บัคส์ มีทั้งในอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า สนามบิน และร้านหนังสือ
Promotion กิจกรรมทางการตลาดแบบ Above the Line ควบคู่ไปกับ Below the Line เพื่อรับกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด อาทิ TVC (หนังโฆษณา) Print Ad (สื่อสิ่งพิมพ์) billboard ฯลฯ
แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Starbucks ในต่างประเทศ
Benchmarking ได้มีการเรียนรู้และได้นำวิธีการที่ร้านในแถบมิลาน อิตาลี มาใช้คือการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ลองทำกาแฟด้วยตัวเองไม่ใช่แค่การขายกาแฟ Starbucks อยากทำให้ธุรกิจของเขาเป็นอะไรที่มากกว่าการขายกาแฟ และให้ลูกค้าได้เรียนรู้การทำกาแฟที่สามารถนำไปใช้ที่บ้านได้ ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่า Starbucks ได้สร้างความแตกต่างในตัวสินค้าเมื่อเทียบในแถบประเทศสหรัฐอเมริกา
  • การกำหนดเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าที่แน่นอน ถือเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้การบริหาร รวมทั้งการควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายง่ายมากขึ้น รวมทั้งยังไม่ทำให้ลูกค้าสับสนในแบรนด์ของเรา
  • ให้ความสำคัญกับพนักงานมาก ให้พนักงานมีโอกาสตัดสินใจร่วมกันในบริษัทราวกับว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท มีการจูงใจพนักงานด้วย เนื่องจาก พนักงานถือเป็นปัจจัยหลักในงานบริการ ซึ่งสามารถส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคได้
  • การเอาใจใส่ลูกค้าโดยการเต็มใจที่จะบริการของพนักงาน พูดว่า “ ได้ “ ในสิ่งที่ลูกค้าขอ ยอมรับในการกระทำที่ทั้งถูกและผิดของตนและไม่กลัวที่จะเข้าหาผู้บริหารระดับสูง
  • การกระจายร้าน Starbucks ออกไปในทุกๆที่ โดยมีการเลือกเมืองใหญ่เป็น HUB เพื่อประโยชน์ที่จะลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการบริหาร ลดแถวของลูกค้าในร้านต่างๆให้ลดลง และเพื่อเพิ่มการเดินทางในละแวกนั้นให้มากขึ้นเนื่องจากที่ Starbucks เป็นร้านที่ เน้นการบริหารด้วยเจ้าของเป็นหลักเพราะมี ระเบียบวิธีการที่ยุ่งยาก ดังนั้น หากใช้วิธีบริหารจากศูนย์กลาง จะไม่สามารถทำได้ทั่วถึง แต่วิธีนี้ก็อาจเกิดข้อเสียได้เช่นกัน หากบริษัทในเมือง HUB ในแต่ละที่ไม่สามารถรักษาระดับไว้ให้อยู่ในระดับเดียวกันได้
  • การขยายโอกาสทางุรกิจถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะช่วยขยายฐานตลาด เพิ่มปริมาณลูกค้า รวมทั้งผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นด้วย แต่ในบางครั้งก็เกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน หากไม่ทำการศึกษาอย่างละเอียดในทุกด้าน
  • การที่มีการบริการการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เนตแบบไร้สายภายในร้านเพื่อเป็นการเสนอบริการที่ทันสมัยไว้ให้ลูกค้า จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องจัดบริการด้านนี้ให้กับลูกค้าด้วย เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย
  • มีการให้ลูกค้าได้รับและสัมผัสถึงรสชาดของกาแฟที่แท้จริงโดยการขอร้องให้พนักงานไม่ให้สูบบุหรี่และฉีดน้ำหอม อันจะเป็นการทำลายการรับรู้ถึงกลิ่นของกาแฟที่แท้จริง
  • การที่มีสายของสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่กาแฟเท่านั้น เช่น เครื่องดื่ม อาหาร เมล็ดกาแฟ อุปกรณ์ในการทำกาแฟ CDเพลง ของที่ร้าน Starbucks เพื่อเป็นการสร้างการบอกปากต่อปาก
  • การเป็น Joint Venture ในการร่วมลงทุน เช่น กาแฟกระป๋อง ไอศกรีมรสกาแฟ
  • การมี Special Sales ให้กับร้านอาหาร บนเครื่องบิน โรงพยาบาล โรงแรม ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการขยายฐานการตลาดออกไปได้
  • การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีการเลือกวัตถุดิบที่ไม่มีการเจือปนของสารเคมี มีนโยบาย ในการควบคุมมลภาวะในร้าน การให้ความรู้ในการักษาสิ่งแวดล้อม ให้ความสนใจในการ reuse reduce recycle
  • การรับผิดชอบต่อสังคม มีการคืนกำไรสู่สังคม มีการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือในเรื่องของ สุขภาพ การศึกษา การพัฒนาประชากร มีการรับบริจาคต่างๆ
  • มีการสื่อถึงภาพลักษณ์โดยรวมของ Starbucks โดยผ่านทางสิ่งแวดล้อมรอบๆร้าน เนื่องจากร้านแต่ละร้านเปรียบเสมือน Billboard ที่เสนอแบรนด์และภาพลักษณ์ออกสู่ลูกค้า
  • การให้ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งของแต่ละร้านที่จะมีการตั้ง ถือว่าทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด เพราะหากว่าทำลไม่ดีเดินทางไม่สะดวกอาจจะส่งผลกระทบต่อยอดขายของบริษัทได้
  • Above the line

    • โฆษณาทางโทรทัศน์

    • Print Ad

      โปสเตอร์หน้าร้าน STARBUCKS ของสหรัฐอเมริกา เป็นโฆษณาเพื่อแนะนำเครื่องดื่มชนิดใหม่ โดยใช้กลยุทธ์ในการบอกกล่าวกับผู้บริโภคว่าทาง STARBUCKS ภูมิใจนำเสนอเครื่องดื่ม Tazo Citrus และ Tazoberry เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภค ในการทดลองดื่มเครื่องดื่มแนวใหม่ของ STARBUCKS ซึ่งมีรสชาติเปรี้ยว หวาน สไตล์ Tazo

      โดยเนื้อหาที่ทาง STARBUCKS ทำการสื่อสารกับผู้บริโภค คือการบอกว่า ถ้ากาแฟของคุณไม่สมบูรณ์ พวกเราSTARBUCKS จะทำมัน ถ้ามันยังคงไม่สมบูรณ์อีก เพื่อความชัวร์คุณเข้ามาบริการกับทางร้าน STARBUCKS ของเราสิ มันไม่ใช่แค่กาแฟ แต่มันเป็น STARBUCKS เป็นการบอกถึงคุณภาพความเป็นกาแฟนแท้ๆของ STARBUCKS โดยเล่นกับความเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นในด้านนี้ และใช้สีเพื่อบ่งบอกความเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อย่าง STARBUCKS กระตุ้นผู้บริโภคให้เลือก STARBUCKS ในการทำให้กาแฟของคุณสมบูรณ์ที่สุด
    • Out Of Home

    Below the line
    สตาร์บัคส์ได้ช่วยสนับสนุนเงินทุนจำนวนกว่า 85,000 ดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อใช้ในโครงการสนับสนุนสังคม ตัวอย่างโครงการสนับสนุนสังคมของสตาร์บัคส์มีดังนี้

    • สตาร์บัคส์ได้ช่วยเหลือในการก่อสร้างห้องน้ำและปรับปรุงระบบชลประทานให้กับโรงเรียน Modesto Armijo ประเทศนิการากัว ซึ่งมีนักเรียนระดับประถมศึกษาจากเมือง San Juan de Rio Coco ทั้งหมด 1,200 คน
    • สตาร์บัคส์ ได้ร่วมกับชาวไร่กาแฟกัวเตมาลา ในการก่อสร้างคลีนิค สถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนสำหรับประชาชนกว่า 5,000 คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งเพาะปลูกเมล็ดกาแฟ
    • สตาร์บัคส์ได้บริจาคเงิน 25,000 ดอลล่าร์ สนับสนุน Coffee Kids™ ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแหล่งเพาะปลูกเมล็ดกาแฟ

    แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Starbucks ในประเทศไทย

    • การกำหนกเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าที่แน่นอน ถือเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้การบริหาร รวมทั้งการควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายง่ายมากขึ้น รวมทั้งยังไม่ทำให้ลูกค้าสับสนในแบรนด์ของเรา
    • ให้ความสำคัญกับพนักงานมาก ให้พนักงานมีโอกาสตัดสินใจร่วมกันในบริษัทราวกับว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท มีการจูงใจพนักงานด้วย เนื่องจาก พนักงานถือเป็นปัจจัยหลักในงานบริการ ซึ่งสามารถส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคได้
    • การทำให้เกิดความจงรักภักดีของลูกค้าและการกระทำอันนำไปสู่เป้าหมายของบริษัท
    • เราต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถือว่าดีและสอดคล้องกับการตลาดที่ให้ความสำคัญกับลูกค้ามากกว่าการเป็นของที่ออกมาเป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังสอดคล้องกับMISSION ที่ตั้งไว้
    • การที่บริษัทมีการรับฟังความคิดของพนักงานที่เขียนลงในใบ comment card แล้วนำมาปรับปรุง
    • มีการฝึกพนักงาน มีการให้ความรู้ทั้งในเรื่องของเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา ขั้นตอนในการทำ ประวัติกาแฟ
    • การที่มีการบริการการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เนตแบบไร้สายภายในร้านเพื่อเป็นการเสนอบริการที่ทันสมัยไว้ให้ลูกค้า
    • มีการให้ลูกค้าได้รับและสัมผัสถึงรสชาดของกาแฟที่แท้จริงโดยการขอร้องให้พนักงานไม่ให้สูบบุหรี่และฉีดน้ำหอม อันจะเป็นการทำลายการรับรู้ถึงกลิ่นของกาแฟที่แท้จริง
    • การที่มีสายของสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่กาแฟเท่านั้น เช่น เครื่องดื่ม อาหาร เมล็ดกาแฟ อุปกรณ์ในการทำกาแฟ CDเพลง ของที่ร้าน Starbucks เพื่อเป็นการสร้างการบอกปากต่อปาก
    • การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีการเลือกวัตถุดิบที่ไม่มีการเจือปนของสารเคมี มีนโยบาย ในการควบคุมมลภาวะในร้าน การให้ความรู้ในการักษาสิ่งแวดล้อม ให้ความสนใจในการ reuse reduce recycle
    • การรับผิดชอบต่อสังคม มีการคืนกำไรสู่สังคม มีการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือในเรื่องของ สุขภาพ การศึกษา การพัฒนาประชากร มีการรับบริจาคต่างๆ

    Above the line

    • Print Ad

      เป็นโฆษณาในนิตยสาร เนื่องจากเป็นการบ่งบอกถึงโปรโมชั่นและยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์อีกด้วย
    • Out Of Home

    Below the line
    ตัวอย่างโครงการสนับสนุนสังคมที่สตาร์บัคส์ปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม

    • Good coffee, doing good ด้วยคำมั่นสัญญาต่อแหล่งเพาะปลูก สตาร์บัคส์สนับสนุนการผลิตกาแฟคุณภาพเยี่ยม และสนับสนุนชาวไร่กาแฟให้สามารถจำหน่ายผลผลิตสู่ตลาดโลกได้ในราคายุติธรรม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของครอบครัวชาวไร่กาแฟ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
    • กิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ด้วยคำมั่นสัญญาต่อสิ่งแวดล้อม สตาร์บัคส์สนับสนุนการเพาะปลูกกาแฟที่ไม่ทำลายสภาวะแวดล้อม พร้อมการจัดตั้งโครงการ “Green Teams” ซึ่งเป็นการรณรงค์การใช้วัสดุรีไซเคิลภายในร้านสตาร์บัคส์
    • สตาร์บัคส์จัดงานเปิดตัวเครื่องดื่มใหม่ สตรอเบอร์รี่ แอนด์ ครีมแฟรปปูชิโน่ ที่ร้านสตาร์บัคส์ คอฟฟี่ สาขาแคมป์ เดวิส สุขุมวิท 24 จึงได้พาสื่อมวลชน พร้อมพาร์ทเนอร์ของสตาร์บัคส์ร่วมกันออกแบบ ทาสีบ้านและกำแพง พร้อมทั้งปลูกต้นไม้เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ที่มูลนิธิดวงประทีป
    • มีการทำ Post Card แจกในเทศกาลวันคริสมาส

    Pizza Hut


    Happiness Goes’ Round
    ประวัติความเป็นมาของ Pizza Hut

    พิซซ่าฮัท (Pizza Hut) เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารพิซซ่า เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2501 โดยสองพี่น้อง แฟรงค์ และ แดน คาร์นี ชาวเมืองวิชิต้า มลรัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา แคน อายุ 25 ปี กำลังทำปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ และแฟรงค์ อายุ 19 ปี กำลังเริ่มวางแผนงานด้านวิศวกรไฟฟ้า ได้เริ่มกิจการร้านพิซซ่าขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้แรงดลใจจากเจ้าของอาคารที่เขาอาศัยอยู่ ซึ่งกำลังมองหาผู้แบ่งเช่าเนื้อที่ เขาได้ศึกษาถึงแนวโน้มในความนิยมพิซซ่าของขาวอเมริกันที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับพวกเพื่อนที่มีประสบการณ์ด้านร้านอาหาร และ การทำพิซซ่ามาบ้างจากการทำงานนอกเวลาในร้านเบ็ดเตล็ด และร้านอาหาร จึงชักชวนกันลงทุนเปิดร้านครั้งแรก โดยมีเงินทุนที่ยืมมาจากมารดาเพียง 600 เหรียญเท่านั้น หลังจากได้ตั้งร้านเรียบร้อยก็มีปัญหาเรื่องชื่อร้าน ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ติดป้ายเพียง 9 ช่องตัวอักษร แต่พวกเขาต้องการคำว่า "พิซซ่า" ซึ่งใช้ไปแล้ว 5 ตัว หนึ่งในสมาชิกครอบครัวจึง เสนอคำว่า "ฮัท" ชื่อร้าน PIZZA HUT ภายใต้สัญลักษณ์ หลังคาแดง 1 จึงถือเป็นเครื่องหมายการค้ามานับตั้งแต่นั้น การตบแต่งร้านเน้นเฟอร์นิเจอร์ และ ของใช้ต่าง ๆ เป็นสีแดงและขาว และ ร้านพิซซ่า ฮัท แห่งแรกก็เปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2501 ที่เมืองวิชิต้า ในขณะนั้นชาวเมืองวิชิต้ายังไม่ค่อยรู้จักพิซซ่านัก สองพี่น้องตระกูลคาร์นี่ย์ จึงใช้ยุทธการใหม่สุด ดึงดูดความสนใจ โดยการเปิดให้กินฟรี ในคืนแรกที่เป็นร้านจนเป็นที่ฮือฮ่าทั่วเมืองนับเป็นความสำเร็จอย่างสูงในเวลานั้น พวกเข้าได้พูดถึงความสำเร็จของเขาว่า "เราให้ความกล้ามากกว่าสมองในการทำงาน" เมื่อถึงเดือนธันวาคมปีเดียวกัน พิซซ่า ฮัท เปิดสาขาที่ 2 ขึ้น และสาขาที่ 3 ตามมาในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2502 นี้เอง ที่เป็นจุดเริ่มระบบร้านสาขา ของพิซซ่าฮัทอันเนื่องมาจากการที่พนักงานคนหนึ่งของพวกเขา เห็นโอกาสที่ดีของกิจการร้านพิซซ่าฮัท ที่เมืองโกพีกา รัฐแคนซิส จึงมีการทำสัญญาคิดค่าบริการงานลิขสิทธ์การใช้ชื่อร้านและสูตรลับในการทำพิซซ่า เมื่อปี 2506 ร้านพิซซ่าฮัทมีสาขาถึง 43 สาขาและได้เพิ่มขึ้นอีก 43 สาขา และได้เพิ่มขึ้นเป็น 300 สาขาในปี 2511 กิจการร้านพิซซ่าฮัท ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในปี 2514 ร้านพิซซ่าฮัทนับเป็นร้านที่มีสาขามากที่สุดในโลก โดยรวมทั้งยอดการจำหน่ายและจำนวนร้านสาขา
    -------------------------------------------------
    4P’s

    • Product พิซซ่า มีทั้งรสชาติดั้งเดิม และรสชาติใหม่ๆ รวมทั้งยังมีสลัด อาหารทานเล่น ของว่าง พาสต้า และเครื่องดื่มชนิดต่างๆ
    • Price ราคาของสินค้า นั้น พิซซ่า ได้ตั้งเอาไว้ในระดับ World Class เพราะต้องการให้แยกออกจาก Fast Foods ให้เป็นอาหารหลัก แต่มีบริการที่รวดเร็วกว่า ร้านอาหารอื่นๆ
    • Place Yum! Brands, Inc. (ยัม! แบรนด์ส อิงค์) ผู้ที่เป็นเจ้าของพิซซ่า ในขณะนี้ มีจำนวนสาขาร้านพิซซ่าและศูนย์บริการส่งอาหารถึงบ้านรวมกว่า 7,500 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา และ 4,500 แห่ง ในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบัน พิซซ่าฮัท มีสาขากว่า 76 แห่งในกรุงเทพฯ และจังหวัดหลักๆ ทั่วประเทศ

    • Promotion กิจกรรมทางการตลาดแบบ Above the Line ควบคู่ไปกับ Below the Line เพื่อรับกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด อาทิ TVC (หนังโฆษณา) Print Ad (สื่อสิ่งพิมพ์) POP Bus Wrap รวมถึงการทำประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะการแจกใบปลิว

    ------------------------------------------------------

    แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของPizza Hut
    • กลยุทธ์การเน้นนวัตกรรมพิซซ่า มีการออกเมนูหน้าพิซซ่าใหม่ๆ
    • กลยุทธ์เพิ่มสัดส่วนยอดขาย โดยมีการ บริการส่ง delivery
    • กลยุทธ์ แคมเปญโฆษณา New Cheesy Bites pizza ของ PIZZA HUT เป็นการโปรโมทสินค้าตัวใหม่ ได้นำกลยุทธ์โดยการใช้ Star Power เป็นจุดสนใจโดยใช้ Jessica Simpson เป็นตัวแสดง ( จากเรื่อง America The Beautiful ) และยังใช้ sex appeal และสุดท้ายก็ใช้ Ideal Families เกี่ยวกับความเป็นครอบครัว สาเหตุที่เลือกเจสสิก้า เพราะความเป็นคนมีชื่อเสียงของเธออีกทั้งเธอยังมีเสน่ห์ และ Jessica จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้วัยรุ่น และชายวัยกลางคนสนใจสินค้าตัวนี้มากขึ้น และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ต้องการที่จะบอกให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่า ขนาดดาราสาว Jessica ยังเลือกที่จะกินพิซซ่าเลย และบอกกับผู้บริโภคอีกว่า ถ้าคุณได้เข้ามาบริการในร้านของ PIZZA HUT คุณจะได้พบกับพนักงานที่น่ารักแบบ Jessica ซึ่งพนักงานทุกคนในร้านก็ล้วนแล้วดู Hot เช่นกันและจากตัวโฆษณาที่เลือกใช้ผู้ชายผิวขาว ให้เกี่ยวข้องกับ ideal families เพราะต้องการให้ทุกคนเข้าใจว่า whites นั้นเป็นพวกคนที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นแล้วทางแคมเปญก็ต้องการ ที่จะสื่อให้เห็นว่าคนที่สมบูรณ์อย่างคนผิวขาว ยังต้องการอะไรที่สมบูรณ์อีก เพราะฉะนั้นพวกเขาเหล่านั้น จึงเลือก pizza hut และโฆษณาตัวนี้ยังโชว์ให้เห็นว่าพิซซ่าของทางร้าน PIZZA HUT น่ากินขนาดไหน ความยืด ของชีส เป็นการยั่วน้ำลายให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการตัดสินใจที่จะเลือกทดลองสินค้าตัวใหม่นี้ กับทาง PIZZA HUT โฆษณาชิ้นนี้ประสบความสำเร็จทางการตลาดในการที่สามารถชักจูงกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น และชายวัยกลางคนได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าโฆษณาชิ้นนี้จะมีการเหยียดสีผิวไปบ้าง
    ----------------------------------------


    Above the line
    • โฆษณาโทรทัศน์


    • โฆษณา on-lineสื่อ Above the Line โฆษณา on-line เป็น Banner ที่ไปโพสตามเว็บไซต์ต่างๆ เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเพิ่มจำนวนลูกค้าให้เข้ามาสั่งอาหารออนไลน์ สื่อโฆษณา on line นี้ถือว่าได้ว่าเป็นการกระตุ้นได้ดี เมื่อผู้บริโภคพบเห็นสื่อก็อาจจะเกิดพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อมาบริโภค ถือได้ว่าเห็นโฆษณาแล้วเป็นทางเลือกหนึ่งในการตัดสินใจซื้อในที่สุดอันนี้เป็นสื่อ Above the Line เป็นโฆษณาที่ลงทางเว็บไซต์ และใช้กลยุทธ์ในการนำเสนอโปรโมชั่นของทางร้าน PIZZA HUT และทำการบอกผู้บริโภคว่า บริการส่งด้วยถึงเที่ยงคืน ใช้เวลา 30 นาที โฆษณาชิ้นนี้เป็นการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคทราบถึงโปรโมชั่นใหม่ๆของทางร้าน และถือเป็นโอกาสที่ดีในการที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้าในเข้ามาบริการในร้าน หรือทำการสั่งซื้ออาหารจาก PIZZA HUT ถือเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขาย โดยทำการใส่เบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อกลับได้ทันที เป็นการกระตุ้นได้ดีอีกด้วยเนื่องจากใช้รูปผลิตภัณฑ์ และเป็นการวัดผลได้ดี จากการที่ลูกค้าติดต่อเข้ามากับททางร้าน เพื่อทราบในการใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดนี้ในการสื่อสาร เป็นการใช้กลยุทธ์ในการที่ลูกค้า มีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ โดยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการเล่นเกมออนไลน์ร่วมกับทาง ESPN RADIO พร้อมกับเป็นการเปิดตัวสินค้าตัวใหม่ CRUNCHY CHEESY CRUST
    • PRINT ADอันนี้เป็นสื่อ Above the Line ทางนิตยสาร และโปสเตอร์ติดหน้าร้านของฮาวาย เป็นโฆษณาเพื่อขอบคุณลูกค้าที่ทำการโหวตให้กับแบรนด์ PIZZA HUT และมีการโชว์เบอร์โทรศัพท์ พร้อมเว็บไซต์เพื่อเป็นอีกช่องทางในการให้ลูกค้าติดต่อกลับ พร้อมใช้รูปสินค้า(อาหารของทางPIZZA) เป็นการกระตุ้นผู้บริโภค ให้เกิดการทดลองสินค้า เพื่อการซื้อมาบริโภคในที่สุด
    สื่อโฆษณาบนนิตยสาร และป้ายบิลบอร์ด ใช้กลยุทธ์ในการบอกกล่าวผู้บริโภคว่า PIZZA HUT เกลียดการสาย และ Launch ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เทศกาลวันวาเลนไทน์ ย้ำจุดยืนว่าเร็ว โฆษณาที่ลงในนิตยสาร ใช้กลยุทธ์โดยการใช้ดาราดังของเกาหลีเป็นพรีเซ้นเตอร์ ในการดึงกลุ่มเป้าหมาย

    • Out Of Home
      สื่อนอกสถานที่ ระหว่างทางขึ้นลงบันได ของประเทศจีน เป็นการสื่อว่า PIZZA HUT มีชีทที่เหนียวนุ่ม และยาวที่สุด โฆษณาที่ MRT

    Below the line

    Yum! รายการร่วมกับสหประชาชาติโครงการอาหารโลกเพื่อจะมุ่งสร้างความตระหนักของความหิวเป็นปัญหาและ พนักงานและ ลูกค้า Franchisees
    ü มีการแจกใบปลิวให้กับลูกค้า แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของPizza Hutในประเทสไทย

    • กลยุทธ์เพิ่มสัดส่วนยอดขาย delivery และตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรมพิซซ่าตัวจริงของไทย ด้วยการออกพิซซ่าเมนูใหม่ Double Pizza
    • กลยุทธ์จากนี้จะเน้นการเปิดร้านแบบ nontraditional outlet มากขึ้น คือการเปิดสาขาตามย่านชุมชนหรือตามห้องแถวเป็นหลัก
    • ขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 15 สาขา เช่น ลงทุนเปิดสำนักงานภูมิภาค 4 แห่งคือ นครศรีธรรมราช, พิษณุโลก, นครราชสีมา และชลบุรี เพื่อเป็นศูนย์กลางของแต่ละภาคในการดูแลด้านการปฏิบัติการ การฝึกอบรม ฯลฯ
    • พร้อมนำเสนอกลยุทธ์ในการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 15 สาขา พร้อมนำเสนอกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลาย เพื่อสร้างให้พิซซ่า ฮัท เป็น Top of mind Brand เมื่อผู้บริโภคนึกถึงพิซซ่า
    • ใช้เสียงเพลงที่เบาสบายเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายไม่รีบเร่ง

    Above the line

    • TVC
    • Print Ad

    Below the line

    • มีการทำใบปลิวแจกตามบ้าน

    วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

    MC

    i'm lovin' it
    ความเป็นมาของ McDonald's
    แมคโดนัลด์ (McDonald's Corporation) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครือร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ.​1948) โดยพี่น้องดิ๊กและแมคโดนัลด์เปิดเป็นร้านแฮมเบอร์เกอร์ชื่อว่า "แมคโดนัลด์" เป็นแบบไดร์ฟทรูในซานเบอร์นาดิโน ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่เริ่มนำระบบการบริการอย่างรวดเร็วเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2491 ภายหลังทั้งสองได้ขายกิจการให้กับ นายเรย์มอนด์ อัลเบิร์ด คร็อก เพื่อนำไปขยายสาขา และเป็นต้นกำเนิดของร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทแมคโดนัลด์ได้นับเอาการเปิดร้านแฟรนไชส์สาขาแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ.​1955) เป็นวันก่อตั้งบริษัท
    ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตัวเลขปี พ.ศ. 2548) รูปแบบทั่วไปของร้านแมคโดนัลด์คือแบบเคาเตอร์และแบบ drive-through หรือขับรถเข้าไปซื้อโดยไม่ต้องลงจากรถ อาหารหลักที่ขายทั่วไปคือ แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ บิ๊กแมค เฟรนช์ฟราย ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม เป็นต้น

    นโยบายหลัก
    Ø Quality หมายถึง คุณภาพของอาหารที่ดีอย่างสม่ำเสมอ อาหารทุกชิ้นของแมคโดนัลด์มี การควบคุมคุณภาพ ดังจะเห็นได้จากการที่แมคโดนัลด์ มีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพอาหาร ทำการตรวจสอบอาหารของแมคโดนัลด์ทุกสาขา ทุก ๆ สัปดาห์และทุก ๆ เดือน นอกจากนี้เพื่อเป็นการ ควบคุมอาหารให้มีความสด และอร่อยสำหรับลูกค้าอยู่เสมอ อาหารทุกอย่างของแมคโดนัลด์ หลังจากปรุงเรียบร้อยแล้ว จะถูกเก็บไว้ในที่เก็บอาหารชนิดพิเศษ (Transfer Bin) เพื่ออุ่นอาหารเตรียม บริการแก่ลูกค้า ด้วยความร้อนอย่างพอเหมาะ และถูกควบคุมไม่เกินเวลาที่กำหนด (Holding Time)
    Ø Service หมายถึง การบริการที่รวดเร็วและเป็นมิตร พนักงานของแมคโดนัลด์ทุกคน ได้ถูกฝึกมาเป็นอย่างดีเพื่อให้ บริการแก่ลูกค้าอย่างรวดเร็ว เป็นมิตร และบริการที่ถูกต้องแม่นยำ ในการจัด อาหารตาม Order ที่แมคโดนัลด์เรามีเวลาเฉลี่ยมาตรฐาน ในการบริการให้ลูกค้าภายใน 60 วินาที และมีการทดสอบพนักงานอยู่สม่ำเสมอ
    Ø Cleanliness หมายถึง ความสะอาด พนักงานทุกคนของแมคโดนัลด์ มีคติประจำใจ เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ "Clean as you go" สะอาดในทุก ๆ ที่ ที่ท่านอยู่ และเมื่อคุณออกจากที่ตรงนั้น พนักงานถูกสอนให้รักษาความสะอาด ในทุกที่ทุกเวลา ที่เขาอยู่ในร้านแมคโดนัลด์
    Ø Value หมายถึง คุณค่าที่เรามอบให้ แมคโดนัลด์ตระหนักถึงความคุ้มค่าทางคุณภาพ บริการ และราคา ทุกอย่างที่เรามอบให้ลูกค้าเราเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าเสมอ
    QSC&V นี้ แมคโดนัลด์เป็นสถานที่เติมเต็มความอิ่มอร่อย ให้แก่คนทั้งครอบครัว ด้วยอาหารนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นเบอร์เกอร์เนื้อ หมู ปลา ไก่ แมคนักเก็ตไก่ และไก่ทอด หรือไอศกรีมโคน และ ซันเด หลากรส
    ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

    ประเทศต่างๆที่มี McDonald’s จำหน่ายอยู่มีทั้งหมด 110 ประเทศ ดังนี้
    1. (1940) United States
    2. (1967) Canada - 1 June
    3. (1967) Puerto Rico - 10 November
    4. (1970) United States Virgin Islands - 4 September
    5. (1970) Costa Rica - 28 December
    6. (1971) Guam 10 June
    7. (1971) Japan - 20 July - with the opening of an outlet in Tokyo the company established a presence in Asia for the first time.
    8. (1971) Netherlands – 21 August - the first MacDonald's in Europe.
    9. (1971) Panama – 1 September
    10. (1971) West Germany – 22 November
    11. (1971) Australia – 30 May - with the opening of an outlet in the Sydney suburb of Yagoona the company established a presence on the third new continent in the span of six months.
    12. (1972) France – 30 June – including the possessions of Martinique 16 December 1991, Guadeloupe 8 April 1992, Réunion 14 December 1997, French Guiana 22 February 2000.
    13. (1972) El Salvador - 20 July
    14. (1973) Sweden – 27 October
    15. (1974) Guatemala – 6 June
    16. (1974) Netherlands Antilles 16 August - Aruba (then part of the Netherlands Antilles) 4 April 1985, Sint Maarten 15 December 1995
    17. (1974) United Kingdom – 1 October - England 1 October 1974, (Powis Street, Woolwich, London) Wales 3 December 1984, Scotland 23 November 1987, (Reform Street, Dundee) Northern Ireland 14 October 1991,
    18. (1975) Hong Kong - 8 January at Paterson Street
    19. (1975) Nicaragua - McDonald’s outlets ceased operation during the Nicaraguan civil war and re-established a presence on 11 July 1998 after an absence of two decades.
    20. (1975) The Bahamas – 4 August
    21. (1976) New Zealand – 7 June
    22. (1976) Switzerland - 20 October
    23. (1977) Ireland – 9 May (Grafton Street, Dublin)
    24. (1977) Austria – 21 July
    25. (1978) Belgium 21 March
    26. (1979) Brazil – 13 February - with the opening of an outlet in Rio de Janeiro the company established a presence on the continent of South America for the first time.
    27. (1979) Singapore – 20 October at Liat Towers, Orchard Road.
    28. (1981) Spain - 10 March
    29. (1981) Denmark - 15 April
    30. (1981) Philippines – 27 September
    31. (1982) Malaysia – 29 April - with the opening of an outlet in Kuala Lumpur.
    32. (1983) Norway – 18 November
    33. (1984) Taiwan (Republic of China) – 28 January
    34. (1984) Andorra – 29 June
    35. (1984) Finland – 14 December
    36. (1985) Thailand – 23 February
    37. (1985) Luxembourg – 17 July
    38. (1985) Venezuela – 31 August
    39. (1985) Italy - 15 October
    40. (1985) Mexico – 29 October
    41. (1986) Cuba - 24 April - available only in Guantanamo Bay and inaccessible to Cuban citizens.
    42. (1986) Turkey – 24 October
    43. (1986) Argentina – 24 November
    44. (1987) Macau - 11 April
    45. (1988) Serbia – 24 March - the first outlet opened in Belgrade
    46. (1988) South Korea – 29 March
    47. (1988) Hungary – 30 April
    48. (1990) Kazakstan - 1 May[citation needed]
    49. (1990) Union of Soviet Socialist Republics - 31 January - (in Russian SFSR, now Russia)
    50. (1990) People's Republic of China - 8 October - in Shenzhen [1]
    51. (1990) Chile – 19 November
    52. (1991) Indonesia – 23 February
    53. (1991) Portugal - 23 May
    54. (1991) Greece - 12 November
    55. (1991) Uruguay - 18 November
    56. (1992) Czechoslovakia - 20 March (in what is now the Czech Republic)
    57. (1992) Poland - 17 June
    58. (1992) Monaco - 20 November
    59. (1992) Brunei - 12 December
    60. (1992) Morocco – 18 December - with the opening of an outlet in Casablanca the company had expanded into Africa and had a presence on all continents except Antarctica.
    61. (1993) Northern Mariana Islands 18 March
    62. (1993) Iceland - 3 September
    63. (1993) Israel - 14 October[2][3]
    64. (1993) Slovenia – 2 December
    65. (1993) Saudi Arabia – 8 December
    66. (1994) Kuwait – 15 June
    67. (1994) New Caledonia - 26 July
    68. (1994) Oman – 30 July
    69. (1994) Egypt – 20 October
    70. (1994) Bulgaria – 10 December
    71. (1994) Bahrain – 15 December
    72. (1994) Latvia – 15 December
    73. (1994) United Arab Emirates – 21 December
    74. (1995) Estonia – 29 April
    75. (1995) Romania – 16 June
    76. (1995) Malta - 7 July
    77. (1995) Colombia – 14 July
    78. (1995) Slovakia – 13 October
    79. (1995) South Africa – 11 November
    80. (1995) Qatar – 13 December
    81. (1995) Honduras – 14 December
    82. (1996) Croatia – 2 February
    83. (1996) Samoa – 2 March
    84. (1996) Fiji – 1 May
    85. (1996) Liechtenstein – 3 May
    86. (1996) Lithuania - 31 May
    87. (1996) India – 13 October
    88. (1996) Peru – 18 October
    89. (1996) Jordan – 7 November
    90. (1996) Paraguay – 21 November
    91. (1996) Dominican Republic - 30 November
    92. (1996) Belarus - 10 December; the company claimed this as McDonald's "100th country" although this calculation included many non-sovereign territories
    93. (1996) French Polynesia - 10 December - in Tahiti
    94. (1997) Ukraine - 28 May
    95. (1997) Cyprus - 12 June
    96. (1997) Macedonia - 6 September
    97. (1997) Ecuador - 9 October
    98. (1997) Isle of Man - 15 December
    99. (1997) Suriname - 18 December
    100. (1998) Moldova - 30 April
    101. (1998) Lebanon – 18 September
    102. (1998) Pakistan – 19 September
    103. (1998) Sri Lanka – 16 October
    104. (1999) Georgia - 5 February
    105. (1999) San Marino – 6 July
    106. (1999) Gibraltar - 13 August
    107. (1999) Azerbaijan - 6 November
    108. (2000) American Samoa - 29 September
    109. (2001) Mauritius - 4 July
    110. (2004) Montenegro - June - the first outlet opened in Budva



    สัญลักษณ์ของ McDonald’s
    McDonald’s ใช้ตัวตลกโบโซ่ เป็นตัวแทนของ McDonald’s เป็นตัวตลกที่แสนตลกใจดี ชอบการร้องเพลง
    และเป็นมิตร สามารถเข้าถึงจิตใจ เด็กได้เป็นอย่างดี เปรียบเสมือนเป็นภาพพจน์ของแมคโดนัลด์ต่อเด็กๆและเต้นรำ ในดินแดนแห่ง McDonald land ในตอนแรกยังไม่ได้มีชื่อเรียกเด็กๆรู้จักในนามของตัวตลกโบโซ่ จึงมีการตั้งชื่อขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า Archie McDonald ชื่อ Archie มีที่มาจาก Arches ซึ่งเป็นสัญลักษณ์โค้งของ McDonald’s แต่ว่าในตอนนั้นมีนักจัดรายการที่มีชื่อเสียง ชื่อว่า Archy McDonald อยู่ในชิคาโก Willard Scott ผู้แสดงเป็นตัวตลกโบโซ่ จึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Ronald McDonald และได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปี 1963 มีรองเท้าเป็นรูปขนมปัง มีถ้วยเป็นจมูก มีถาดเบอร์เกอร์เป็นหมวกที่ทำมาจากฟองน้ำ มีหัวเข็มขัดเป็นรูปเบอร์เกอร์ รวมถึงยังมีเหล่าเพื่อนๆของ Ronald McDonald เช่น



    การสื่อสารตราสินค้าผ่านโรนัลด์ แมคโดนัลด์
    แนวคิดในการสร้างตราสินค้าผ่าน โดย โรนัลด์ แมคโดนัลด์จะมีส่วนทำให้ตราสินค้าแมคโดนัลด์ดูพิเศษขึ้น โดยการปรากฏตัว จะมีสัญลักษณ์ตัว m บนหน้าอก และด้านหลังเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของ การที่ลูกค้าเห็นตัว m ก็จะนึกถึงมากกว่าหนึ่ง และ “โรนัลด์ ฯก็เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ หรือ ตราแห่งความจำจด โรนัลด์ฯ ไม่ใช้ตราสินค้า แต่เป็นมากกว่าตราสินค้า เป็นตราแห่งการจดจำ”
    โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เป็นมากกว่าตัวตลก คือ เป็น entertainer ดูเท่ห์ได้ สนุกแต่ไม่ตลกหรือดูโง่ ต้องสมาร์ท” ตัวตลกโรนัลด์ แมคโดนัลด์เป็นผู้บริหารความสุขระดับสูง (chief happyness officer) “การปรากฏตัวของโรนัลด์ฯ จึงต้องดี จะต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ หรือพิเศษจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้าน การฉลอง ถ้าเป็นการเปิดร้านก็จะมีคนไทยกับพี่โรนัลด์เปิดพร้อมกัน เพราะคนไทยนับถือคน แต่ถ้าเมืองนอก โรนัลด์ฯ คนเดียวเลยเพราะเป็นเจ้าของตราสินค้าโดยตรง”

    ประวัติในประเทศไทยในปี พ.ศ.2528 นายเดช บุลสุข ผู้มีความประทับใจ ในรสชาติ และบริการของแมคโดนัลด์ เมื่อครั้งได้รับทุน American Field Service (AFS) ไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา ได้รับเลือกให้เป็น ผู้ร่วมดำเนินการร้านแมคโดนัลด์ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 35 ของโลก โดยมีสาขาแรกที่อัมรินทร์ พลาซ่า แมคโดนัลด์สาขาถนนราชดำเนิน ติดกับโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นแมคโดนัลด์สาขาเดียวในโลกที่ป้ายหน้าร้านใช้พื้นสีน้ำตาล แทนที่จะเป็นสีแดงเหมือนที่อื่น ๆ เนื่องจากเหตุผลเรื่องการรักษาภาพลักษณ์สถาปัตยกรรมของอาคารริมถนนราชดำเนิน

    ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

    4P’s

    • Product บริการอาหาร Fast Food ที่หลากหลาย เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ บิ๊กแมค เฟรนช์ฟราย ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม เป็นต้น ทั้งรสชาติดั้งเดิม และรสชาติใหม่ๆ ตั้งแต่กินเล่นๆฆ่าเวลา จนถึงกินอิ่มได้มื้อหนึ่ง รวมทั้งความต้องการ สถานที่นั่งสบายๆ ไว้นั่งรอ ไว้นัดพบเพื่อน นอกจากนี้ยังมีของเล่น ของสะสม ให้คุณเลือกได้ ไม่ซ้ำแต่ละอาทิตย์ เหมาะกับผู้ที่รักการเก็บสะสม

                • Price อาจจะแพง กว่าร้านอาหารปกติ แต่จะมีชุดสุดคุ้มหลายรูปแบบ

                • Place แต่ละสาขาของ McDonald’s มักจะมีทำเลที่สะดวกในการให้บริการและมีกระจายอยู่อย่างครอบคลุมในแต่ละประเทศที่มี McDonald’s เช่น สนามบิน หรือเปิดร้านในที่ที่เป็นชุมชน

                • Promotion แต่ละประเทศนั้นการส่งเสริมการขายของทาง Mc นั้น ค่อนข้างที่จะหลากหลาย คือมีการทำเกี่ยวกับเมนูพิเศษ เช่น บิ๊กแมคในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม (ในไทยจะเป็นเนื้อวัวแต่ในประเทศอื่นๆเป็นเนื้อแกะ เนื้อไก่ ฯลฯ) มีการจัดทำชุดสุดคุ้ม เพื่อจ่ายครั้งเดียว ได้ทั้งอาหารหลัก เครื่องเคียง(เฟรนฟรายส์) และน้ำดื่ม(Coke, Fanta, Sprite) อีกทั้งชุดเหล่านั้นยังมีราคาที่ถูกกว่าปกติ ในส่วนถัดมาคือ การโฆษณาทางโทรทัศน์ การแจกใบปลิว ฯลฯ

                ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

                แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ McDonalds
                • แมคโดนัลด์ใช้คอนเซ็ปต์การตลาดแบบ Brand Journalism ด้วยการสื่อเรื่องราวหลากมุม หลายเซ็กเมนต์ผ่านแบรนด์ เสมือนเป็นการบันทึกข่าวเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับแมคโดนัลด์ทั่วโลกเพื่อตอกย้ำการรับรู้ของบริโภคแต่ละตลาดที่หลากหลาย ฉีกกฎเกณฑ์สร้างแบรนด์แบบเก่าที่วางตำแหน่งแบรนด์แบบมุมมองเดียว ระบุหมดยุคการตลาดแบบแมสที่ใช้คอนเซ็ปต์การสื่อข้อความเดียวใช้ทั่วโลก เพราะโฆษณาชิ้นเดียวไม่สามารถบอกเรื่องราวได้ทั้งหมด พร้อมใช้เน็ตเวิร์กของแมคฯ ที่มีอยู่ทั่วโลกสร้างสรรค์งานด้านโฆษณาและการตลาดแทนการพึ่งเอเยนซี่ใดเพียงที่เดียว

                Brand Journalism ที่ดีต้องมีหลัก 3 ประการ คือ
                1.Surprise - การสร้างความประหลาดใจ การคาดเดาได้เป็นศัตรูของความน่าสนใจของแบรนด์ การเปิดตัว I’m lovin it. พร้อมเพลงฮิพฮอฟเป็นวิธีสื่อสารที่จะสร้างความประหลาดใจเพื่อให้ทราบว่าเรากำลังเปลี่ยนแปลงเราสื่อทัศนคติใหม่เกี่ยวกับแบรนด์ผ่านวิธีการที่สร้างความประหลาดใจ เช่นโฆษณาใหม่ แพ็กเกจใหม่ ดีไซน์ร้านใหม่ สินค้าใหม่ โปรโมชันใหม่ ชุดพนักงานใหม่และอื่นๆ ที่สามารถสื่อสารได้
                2. Delight - ความชื่นชอบ มีเพียงไม่กี่สิ่งที่สร้างความชื่นชอบพึงพอใจได้อย่างดนตรีซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเปิดตัวทัศนคติใหม่ของแบรนด์เรา เพลงของเราติดชาร์ต Total Request Live ของ MTV อันดับ 2 มีนักร้องชื่อดังทั่วโลกร้องเพลงของเรา เช่น Justin Timberlake, Tony Santos ในสเปน Lee Holm Wongในจีน และเสนอการดาวน์โหลดเพลงของโซนี่มิวสิกฟรีเมื่อซื้อบิ๊กแมค
                3. Unique – ความเป็นเอกลักษณ์ของแมคโดนัลด์ ซึ่งแมคโดนัลด์สิ่งที่มีเอกลักษณ์หลายอย่างที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก เช่น บิ๊กแมค, เฟรนฟรายส์, ตัวอักษร M สีทอง, โรนัลด์ แมคโดนัลด์, แฮปปี้มีล สินค้าเด็ก เช่น ของเล่น วิดีโอเกม และซีดีซึ่งล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์

                • แมคโดนัลด์นับเป็นรายแรกๆ ในตลาด QSR (Quick Service Restaurant) ที่หันมาโปรโมตเมนูอาหารเช้าอย่างจริงจัง มีจำนวนคนที่เข้าร้านเพิ่มขึ้น นับว่ากลยุทธ์นี้ของแมคโดนัลด์นั้นประสบความสำเร็จทั่วโลก
                • McDonald’s มุ่งเน้นในความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง มีการปรับเปลี่ยนลักษณะของอาหารให้เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ รวมไปถึงวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน
                • แมคโดนัลด์ยังให้ความสำคัญกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์และทำการตลาดผ่านทางสื่อใหม่ๆ อย่างสื่อดิจิตอล ทั้งอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยเล็งเห็นว่า เป็นช่องทางที่จะทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกจังหวะในเวลาที่เหมาะสมมากที่สุด
                • McDonald’s ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอกให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็รักษาจุดแข็งของตนเองในเรื่อง คุณภาพ (Quality) และ ความสม่ำเสมอในสินค้าและบริการ (Consistency) ให้ได้ และพยายามสร้าง Competitive Advantage ให้เป็น Sustainable Competitive Advantage(ความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน) โดยใช้ความสามารถหลักที่บริษัทได้จากการบริหารจัดการส่วนผสมทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของการผลิต การตลาด การบริการ การค้นคว้าและวิจัยและพัฒนา ประกอบกันเพื่อให้ McDonald’s เป็นผู้นำธุรกิจฟาสต์ฟู้ดต่อไป
                • สำหรับกลยุทธ์การตลาด แมคโดนัลด์ใช้ทั้งกิจกรรม Above the line และ Below the line โดยมุ่งติดต่อกับผู้บริโภคในทุกจุด

                Above the line
                โฆษณาทางโทรทัศน์









                .
                Print Ad























                .
                Out Of Home













                เป็นสื่อโฆษณาที่เล่นกับป้ายรถประจำทาง เป็นการบอกว่าเป็นสถานีแห่งความอร่อย





















                เล่นกับตู้โทรศัพท์ และใช้โฆษณาโดยใช้เครื่องหมายยืนยันความปลอดภัยที่ผ่านการรับรอง ว่าเป็นอาหารที่สะอาด มีคุณภาพได้มาตรฐาน


                Below the line
                • Ronald Visit เป็นการไปเยี่ยมเด็กๆที่ป่วยตามโรงพยาบาลหรือมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ที่ได้มีจัดตั้ง
                • Ronald Community by stores จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของทางร้านโดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การเปิดสาขาใหม่ โรนัลด์ ก็มีหน้าที่ไปเปิดร้าน หรือรวมไปถึงการเปิด เคมเปญใหม่ต่างๆโรนัลด์ฯก็จะมีส่วนร่วมในการสร้างความบันเทิงอีกด้วย
                • Ronald Community by PR จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์เฮาส์ โดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การมอบทุนการศึกษา การมอบห้องแห่งความสุขให้กับโรงพยาบาล การทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ
                • สนับสนุนสุขภาพนันทนาการและโปรแกรมอื่นๆในชุมชน
                • ให้ความช่วยเหลือในระหว่างหายนะภัยธรรมชาติและอื่นๆภาวะฉุกเฉิน
                • การสนับสนุนโรงเรียนในท้องถิ่นและให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา
                • สนับสนุน Ronald McDonald บ้านกุศล

                ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

                แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ McDonalds ในประเทศไทย
                1. แมคโดนัลด์นับเป็นรายแรกๆ ในตลาด QSR (Quick Service Restaurant) ที่หันมาโปรโมตเมนูอาหารเช้าอย่างจริงจังปัจจุบันมี 9 SKU (Stock Keeping Unit) เวลาผ่านไป 1 ปี ปรากฏว่ายอดขายเมนูอาหารเช้าเติบโต 35% และมียอด Guess Count หรือจำนวนคนที่เข้าร้านฯ เพิ่มขึ้น 18% นับว่ากลยุทธ์นี้ของแมคโดนัลด์ในไทยเดินตามรอยความสำเร็จของต้นแบบในต่างประเทศได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน
                2. กลยุทธ์หลักของแมคโดนัลด์คือกระตุ้นยอดขายในทุกช่วงของวันให้เพิ่มขึ้น หลังการโฟกัสเมนูอาหารเช้าอย่างเข้มข้นแล้ว จากนั้นในอีกไม่นานเราจะได้เห็นการรุกหนักในช่วงอื่นๆ ของวัน เช่น Snack Time และ Late Night โดยเฉพาะช่วงหลังซึ่งเป็นโอกาสทองของแมคโดนัลด์เพราะมีหลายสาขาที่เปิด 24 ชั่วโมง
                3. McDonald ทุ่มงบการตลาด 35 ล้านบาท ส่งแคมเปญชิมฟรีอาหารเช้า 100,000 ชุดลุยตลาดอาหารเช้าพร้อมปล่อยแคมเปญแจกคูปองชิมฟรีทั่วกรุงเทพฯ กับ Sausage Egg Burger ฟรี 100,000 ชุด
                4. สำหรับกลยุทธ์การตลาด แมคโดนัลด์ใช้งบการตลาดกว่า 20 ล้านบาท เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยได้ศึกษาความต้องการของลูกค้า และทำการสื่อสารกับลูกค้าแบบ 360 องศา โดยใช้ทั้งกิจกรรม Above the line และ Below the line โดยมุ่งติดต่อกับผู้บริโภคในทุกจุด เช่น ภาพยนตร์โฆษณา, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร UBC, ใบปลิว, และ สื่ออื่น ๆ ภายในร้าน รวมถึง กิจกรรมประชาสัมพันธ์

                Above the line
                โฆษณาทางโทรทัศน์









                .

                Print Ad



















                Below the line

                • Ronald Show at Stores เป็นการปรากฏตัวในร้านเช่น วันเกิดร้านครบรอบปีหรือการที่ร้านจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆขึ้นภายในร้าน และทางร้านอาจมีการจัดทำการส่งเสริมการขายไปในตัว
                • Ronald Show at Schools เป็นการออกโชว์กับทางโรงเรียน โดยจะมีกิจกรรมโชว์การแสดงซึ่งทางร้านแมคโดนัลด์ก็จะเป็นคนประสานงานติดต่อไป
                • Ronald Visit เป็นการไปเยี่ยมเด็กๆที่ป่วยตามโรงพยาบาลหรือมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ที่ได้มีจัดตั้งแล้ว
                • Ronald Club Meeting เป็นการจัดกิจกรรมเฉพาะให้กับสมาชิก โรนัลด์คลับโดยทางฝ่ายการตลาดจะเป็นผู้รับผิดชอบและเลือกสถานที่เป็นร้านแมค โดนัลด์ที่มีความเหมาะสมในการจัดกิจกรรม
                • Ronald Community by stores จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของทางร้านโดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การเปิดสาขาใหม่ โรนัลด์ ก็มีหน้าที่ไปเปิดร้าน หรือรวมไปถึงการเปิด เคมเปญใหม่ต่างๆโรนัลด์ฯก็จะมีส่วนร่วมในการสร้างความบันเทิงอีกด้วย
                • Ronald Community by PR จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์เฮาส์ โดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การมอบทุนการศึกษา การมอบห้องแห่งความสุขให้กับโรงพยาบาล การทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ