วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

KFC

Live the real tasty life By KFC

ประวัติความเป็นมาของKFC

ประวัติความเป็นมาของKFCหุ่นชายแก่ ที่เราเห็น เวลาผ่านร้านเคเอฟซี นั้น คือผู้ก่อตั้งเคเอฟซีตั้งแต่ปี ค.ศ.1939 เขาชื่อว่า ฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส เกิดวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1890 มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เป็นลูกชายคนโต เมื่อเขาอายุได้เพียง 6 ขวบ บิดาก็เสียชีวิตทำให้ แม่ต้องรับภาระเลี้ยงดู น้องชายอายุ 3 ขวบ และน้องสาว ยังเล็กอยู่ เขาต้อง ทำงานบ้านทุกอย่าง รวมถึง ทำอาหารเองด้วย แซนเดอร์ส มีความสามารถในเรื่องนี้มาก จนได้รางวัลชนะเลิศในการประกวด ทำอาหารประจำหมู่บ้านขณะที่อายุได้เพียง 7 ขวบเท่านั้น
แซนเดอร์สเริ่มรับจ้างทำงานครั้งแรก เมื่อมีอายุได้ 10 ปี โดยเริ่มจาก การทำงานในฟาร์มใกล้บ้านได้ค่าแรงเพียง เดือนละ 2 ดอลลาร์ และอายุได้ 12 ปี เขาก็ออกจากบ้าน ไปทำงานที่ฟาร์มในหมู่บ้านเฮนรี วิลล์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้น ของชีวิตการทำงานหลาย ๆ อย่าง ที่เขาเคยทำ เช่น เป็นนักดับเพลิง ฝึกงานที่ศาล ขายประกัน ขายยาง ทำงานที่สถานีขนส่ง และเมื่ออายุ 47 ปี แซนเดอร์ส ก็เริ่มทำอาหารจำหน่ายที่สถานีขนส่ง ในรัฐเคนตั๊กกี้ ปรากฏว่า อาหารที่เขาทำเป็นที่นิยมมาก แซนเดอร์ส จึงลาออก ไปทำร้านอาหาร หลังจากนั้นอีก 9 ปี เขาได้คิดค้นสูตรการปรุงไก่ทอดด้วยส่วนผสมลับเฉพาะ จากเครื่องเทศ 11 ชนิด และใช้วิธีการทอดไก่แบบพิเศษ เพื่อรักษารสชาติ และความหอมอร่อย ของไก่ทอดไว้ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดไก่ทอด สูตรต้นตำรับ เคเอฟซี แซนเดอร์ส สร้างชื่อให้รัฐ เคนตั๊กกี้มาก ผู้ว่าการรัฐจึงแต่งตั้งให้เขาเป็น "ผู้พันแซนเดอร์ส" เพื่อเป็นเกียรติ
จนถึงวันนี้เคเอฟซี ได้ขยายสาขา มากกว่า 29,500 แห่งใน 92 ประเทศทั่วโลก ...โดยมี หุ่นจำลองของผู้พันแซนเดอร์ส ตั้งอยู่หน้าร้าน เหมือนเป็น เครื่องรับประกันถึงความอร่อย ของไก่ทอด ตำหรับ "KFC COLONEL SANDERS THE LEGENDARY CHICKEN EXPERT"
CHICKEN EXPERT
-1890 ตำนานความอร่อยของไก่ทอด KFC เริ่มต้นโดย พันเอกฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส ท่านถือกำเนิดขึ้นในเมืองคอร์บิน มลรัฐเคนตั๊กกี้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ในปี 1890
- 1930 ในช่วงปี 1930 พันเอกฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส เริ่มปรุงไก่ทอดที่แสนอร่อย ให้แก่นักเดินทางทั่วไป ที่มาหยุดพักรับประทานอาหาร ที่ร้านของท่านในเมือง คอร์บิน มลรัฐเคนตั๊กกี้
- 1939 ชื่อผู้พันแซนเดอร์สเริ่มเป็นที่รู้จัก ในปี 1939 พันเอก ฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส ได้รับเกียรติจากมลรัฐเคนตั๊กกี้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้พัน เคนตั๊กกี้ แทนความยินดีจากผู้ว่ามลรัฐ เคนตั๊กกี้ที่ท่าน ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่รัฐ เพราะท่านได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ เพื่อคิดค้นสูตรไก่ทอดที่แสนอร่อย โดยนำไก่ มาคลุกเคล้ากับเครื่องเทศ 11 ชนิด และใช้วิธีพิเศษ ของการทอดด้วยเตาทอดระบบ ความดัน เพื่อรักษา รสชาติ หอมอร่อยของไก่
- 1950 ด้วยความมั่นใจในรสชาติ และคุณภาพของไก่ทอด ในปี 1950 ผู้พันเริ่มออกเดินทางไปทั่วสหรัฐอเมริกา และแคนาดาด้วยตัวท่านเองจากร้านหนึ่งไปสู่อีก ร้านหนึ่ง เพื่อขายแฟรนไชส์ ธุรกิจของท่าน
- 1955 ในปี 1955 ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ได้ก่อตัวขึ้นในรูปบริษัท เป็นครั้งแรก โดยผู้ก่อตั้งคือผู้พันแซนเดอร์ส
- 1964 มาในปี 1964 ผู้พันแซนเดอร์สได้ขายกิจการ ไก่ทอดเคนตั๊กกี้ให้แก่ กลุ่มนักลงทุนมืออาชีพที่มี Jack Massey และ John Y. Brown Jr. เป็นแกนนำ
- 1978 เพื่อรักษาไก่ทอดเคนตั๊กกี้ ให้คงคุณภาพและรสชาติ แบบดั้งเดิม จึงมีการเปิดศูนย์ฝึกอบรมแห่งชาติของ KFC ขึ้นในปี 1978 โดยมีผู้พันแซนเดอร์สเป็น ผู้ตรวจสอบการรักษารสชาติ ของไก่ทอดเป็นหม้อแรก จากพีท ฮาร์แมน ผู้ที่ได้แฟรนไชส์เป็นรายแรก
- 1980 แล้วในปี 1980 ผู้พันแซนเดอร์สก็ถึงแก่กรรมท่านอายุได้ 90 ปี ร่างของท่านถูกนำไปตั้ง ณ ที่ทำการของเมืองหลวง มลรัฐเคนตั๊กกี้ และจากนั้นได้ถูกนำไปฝังที่สุสาน เดฟฮิลล์ เมืองหลุยวิลล์
- 1999 ในปัจจุบัน KFC มีเครือข่ายของร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีร้านที่ให้บริการอาหาร และของว่างมากกว่า 29,500 แห่ง ในกว่า 92 ประเทศทั่วโลก KFC ภายใต้ความยิ่งใหญ่ของ ผู้พันแซนเดอร์สถือเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และยังคงก้าวต่อไปอย่างมั่นคง ด้วยคุณภาพและสำนึกในความรับผิดชอบที่ดีต่อสังคม ไม่ว่าท่านจะอยู่ในประเทศใดท่าน จะสามารถสัมผัสและระลึกถึงผู้พัน แซนเดอร์ส ตำนานแห่งไก่ทอดแสนอร่อยของ KFC ได้เสมอ

Logo KFC ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
หุ่นที่เราเห็นเวลาผ่านหรือเข้าไปใช้บริการในร้านเคเอฟซีนั้นคือสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนผู้ก่อตั้งเคเอฟซีตั้งแต่ปี ค.ศ.1939

ทำไมKFCถึงต้องเปลี่ยนชื่อจาก Kentucky Fried chicken

KFC เป็นอาหารที่คนอเมริกากินกันมาก จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ KFCของมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ พบข้อเท็จจริงที่น่าแปลกใจ เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนชื่อเนื่องจาก บริษัทนี้ไม่สามารถใช้คำว่าchickenได้เนื่องจาก ไม่ได้ใช้ไก่จริงๆในการทอดขายลูกค้าแต่บริษัทนี้ใช้ไก่ที่ผ่านการตัดแต่งพันธ์กรรมมาทอดให้ลูกค้ากิน
********************************
รายชื่อเคเอฟซีสาขาทั่วโลก
อันดอร์รา
แอนติกาและบาร์บูดา
ออสเตรเลีย
ออสเตรีย
บาฮามาส
บาห์เรน
บังกลาเทศ
บาร์เบโดส
บอตสวานา
บราซิล
บัลแกเรีย
กัมพูชา
แคนาดา
ชิลี
จีน
ฮ่องกง
มาเก๊า
โคลอมเบีย
คอสตาริกา
ไซปรัส
สาธารณรัฐเช็ก
เดนมาร์ก
โดมินิกา
สาธารณรัฐโดมินิกัน
เอกวาดอร์
เอลซัลวาดอร์
อียิปต์
ฟิจิ
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
กรีซ
เกรเนดา
กายอานา
ฮอนดูรัส
ฮังการี
ไอซ์แลนด์
อินเดีย
อินโดนีเซีย
ไอร์แลนด์
อิสราเอล
อิตาลี
จาเมกา
ญี่ปุ่น
จอร์แดน
คูเวต
เลบานอน
ลิทัวเนีย
มาเลเซีย
มอลตา
มอริเชียส
เม็กซิโก
โมร็อกโก
นามิเบีย
เนเธอร์แลนด์
นิวซีแลนด์
นิการากัว
โอมาน
ปากีสถาน
ปานามา
เปรู
ฟิลิปปินส์
โปแลนด์
โปรตุเกส
กาตาร์
โรมาเนีย
รัสเซีย
เซนต์ลูเซีย
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
ซาอุดีอาระเบีย
เซอร์เบีย
สิงคโปร์
ซูรินาเม
สโลวาเกีย
แอฟริกาใต้
เกาหลีใต้
สเปน
ศรีลังกา
ซีเรีย
สาธารณรัฐจีน
ไทย
ตรินิแดดและโตเบโก
ตุรกี
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
เวเนซุเอลา
เวียดนาม
เยเมน
ซิมบับเว
**********************************
4P’s




Productในส่วนสินค้าของทางด้าน KFC นั้น สิ่งหลัก ก็คือไก่ทอด ไก่ที่นำมาใช้ ได้มาจากบริษัท ซีพีเอฟ โดยที่กระบวนการผลิตอาหารของซีพีเอฟ ในทุกขั้นตอนการผลิตจะมีการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด นับตั้งแต่การสรรหาและพัฒนาพันธุ์ที่ดี การผลิตอาหารสัตว์ตามหลักโภชนาการสัตว์ การเลี้ยงการจัดการ ไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารก่อนส่งมอบให้ลูกค้า กระบวนการผลิตทั้งหมดได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกมากมายทั้ง GMP, HACCP,ISO9002, ISO14001, TIS18001, ISO/IEC17025, BRC รวมถึง HALAL และที่สำคัญ ซีพีเอฟ เป็นบริษัทแรกนอกเขตยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งระบบ (Traceability) ซึ่งลูกค้า สามารถที่จะมั่นใจได้ว่า ไก่ทอดของร้าน KFC เป็นไก่ทอดที่มีมาตรฐาน และคุณภาพ


Price ทางด้านราคาของสินค้าในร้านค้า KFC ใช้กลยุทธการตั้งราคาสูงแต่ไม่สูงมากจนเกินไป เพื่อยกระดับร้านอาหาร Fast Food เพื่อไม่ให้มองว่าอาหารเหล่านี้เป็นอาหาร Junk Food หรืออาหารขยะ

PlaceYum! Brands, Inc. (ยัม! แบรนด์ส อิงค์) ผู้ที่เป็นเจ้าของ KFC ในขณะนี้ ได้ทำการขยายตลาด มีการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ และขยายสาขาไปมากขึ้นเรื่อยๆ จนในขณะนี้ มีจำนวนสาขามากกว่า 13,000 แห่ง ใน 80 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทย ร้านของ KFC มักจะมีทำเลอยู่ในแหล่งชุมชน อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า ตามปั้มน้ำมัน และที่พักระหว่างทาง เป็นต้น

Promotion ในส่วนของการส่งเสริมการขายของทาง KFC นั้น ค่อนข้างที่จะหลากหลาย สิ่งแรกคือการทำเกี่ยวกับเมนูพิเศษ ให้มีความน่าสนใจ มีการจัดทำชุดต่างๆ เพื่อสามารถให้ผู้สั่งสะดวก อีกทั้งชุดเหล่านั้นยังมีราคาที่ถูกกว่าปกติ ในส่วนถัดมาคือ การโฆษณาทางโทรทัศน์ การแจกใบปลิว เป็นต้น







*********************************


แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของKFC

  • ไก่นี้ได้รับการเลี่ยงให้มีชีวิตอยู่ด้วยการต่อท่อเข้าไปในร่างกายของไก่เพื่อปั้มเลือดและฉีดสารอาหารบำรุงกำลังเข้าไปในตัวไก่ ไก่พวกนี้ไม่มีจะงอย ไม่มีขน และมีเท้าเล็กมากเพื่อทำให้โครงสร้างหดตัวลงเพื่อให้ได้เนื้อมากที่สุด เพราะมันจะช่วยลดการใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิตได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะได้ไม่ต้องถอนขน จะงอยและเท้าไก่เวลาฆ่า
  • คเอฟซี เน้นย้ำความสดใหม่ ความร้อน และคุณภาพ โดยที่เคาร์เตอร์จะไม่มีการทำอาหารทิ้งก่อนเป็นจำนวนมากๆ
  • มีการใช้กลยุทธ์การบริการส่งถึงบ้าน สามารถสั่งทางทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตได้
  • เคเอฟซียังให้ความสำคัญกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์และทำการตลาดผ่านทางสื่อใหม่ๆ อย่างสื่อดิจิตอล ทั้งอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยเล็งเห็นว่า เป็นช่องทางที่จะทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกจังหวะในเวลาที่เหมาะสมมากที่สุด
  • สำหรับกลยุทธ์การตลาด KFC ใช้ทั้งกิจกรรม Above the line และ Below the line โดยมุ่งติดต่อกับผู้บริโภคในทุกจุด

    Above the line
KFC โฆษณายุคแรก








.

PRINT AD ทั่วโลก













.


โฆษณาทางโทรทัศน์









.

โฆษณา on-line















.

สื่อโฆษณา Above the Line แคมเปญโฆษณาชิ้นนี้เป็นแคมเปญที่ใหญ่อีกแคมเปญของ KFC โดยการสื่อว่า “สถานีแห่งความอร่อย” โดยทางKFC พยายามที่จะนำเสนอเมนูไก่ที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้นให้กับกลุ่มลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ไก่ทอด นัทเก็ตไก่ แม้กระทั่งเบอร์เกอร์ไก่ พร้อมทั้งนำเสนอความหลากหลายของซอสรสใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากซอสเดิมๆของ KFC ซึ่งเป็นการเพิ่มอีกทางเลือกหนึ่ง โดยแนวคิดของแคมเปญนี้เป็นการให้ผู้บริโภคเลือก KFC เป็นอาหารมื้อกลางวัน จากเมนูอาหารใหม่ของทาง KFC 4 เมนู ไม่ว่าจะเป็น ไก่แบบมีกระดูก ไร้กระดูก ไก่กรอบ พร้อมกับซอสที่ราดกับไก่ เช่นรสน้ำผึ้ง รสบาร์บีคิว หรือ 2 รสใหม่ คือ รสเผ็ดร้อน และหวานเผ็ด โดยแคมเปญ “สถานีแห่งความอร่อย” จะทำการออกอากาศทางโทรทัศน์ ตามสถานที่ทำงานต่างๆ เช่น ออฟฟิต โรงงาน เขตก่อสร้าง ว่าเป็น KFC เป็นสถานีแห่งความอร่อยของไก่ดั้งเดิมและทำการโปรโมทแคมเปญนี้ผ่านเว็บไซต์ http://www.chooseyoursauce.com/


โฆษณา out of homeBelow the line
• Yum! รายการร่วมกับสหประชาชาติโครงการอาหารโลกเพื่อจะมุ่งสร้างความตระหนักของความหิวเป็นปัญหาและ พนักงานและ ลูกค้า Franchisees
• KFC Colonel's Scholars เป็นโปรแกรมของมูลนิธิKFC เป็นมูลนิธิที่ไม่ขึ้นต่อผู้ใด ทำเพื่อการกุศลบริจาคโดย พนักงาน ผู้ประกอบการ และ ผู้อุปถัมภ์ของ KFC เพื่อช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยในถิ่นที่พวกเขาอาศัยอยู่
• สื่อAmbient Media เล่นกับพื้นถนนที่เสียใน Louisville เป็นโฆษณาที่ดึงดูดความสนใจผู้บริโภค


********************************

แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ KFC ในประเทศไทย

  • เคเอฟซีและทรู จับมือกันผนึกกำลัง เร่งตอบสนองความต้องการ และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน จากการมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดเป็นแคมเปญ “เปิดบริการ Wi-Fi เติมเต็มชีวิตครบรส ให้ลูกค้าอิ่มอร่อย พร้อมท่องเน็ตไร้สายด้วยความเร็วสูงสุด 1.5 Mbps.” ที่ร้านเคเอฟซีกว่า 160 สาขาทั่วกรุงเทพฯ
  • เคเอฟซีทำการติดตั้ง “เตาอบไฮเทค” นวัตกรรมล่าสุดของวิธีปรุงอาหารที่ไม่ใช้การทอด เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งเตาอบนี้เป็นวิธีการอบที่ช่วยให้เนื้อไก่นุ่ม มีรสชาติเข้มข้น โดยยังคงความชุ่มฉ่ำและไม่แห้ง พร้อมส่ง“วิงอบฮิตส์” เมนูสุขภาพเมนูแรก และยังตามติดด้วย “เอเชี่ยน ดีไลท์ สลัด” (Asian Delight Salad) ซึ่งมีความพิเศษคือ เป็นผักทั้ง 5 ชนิดที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งได้ผ่านการสำรวจความนิยมแล้วว่าเป็นผักที่ลูกค้าชื่นชอบติดอันดับ Top10 ได้ถูกคัดสรรและปรุงภายใต้แนวคิดเพื่อสุขภาพที่น่าทึ่งคือ 5 A day ซึ่งหมายถึง การรับประทานผักให้ได้ 5 สีเพื่อประโยชน์สูงสุด
  • กลยุทธ์นี้จะเน้นการเปิดร้านแบบ Non Traditional Outlet มากขึ้น คือการเปิดสาขาตามย่านชุมชนหรือตามห้องแถวเป็นหลัก แต่จะควบคู่ไปกับการเปิดสาขาในศูนย์การค้า เป็นการพยายามสร้างโอกาสและช่องทางของระบบดีลิเวอรี่มากขึ้น โดยใช้เบอร์เดียว 1150 เพราะที่ผ่านมาธุรกิจการจัดส่งที่มีการเติบโตอย่างมาก
  • “โครงการ “เคเอฟซี เซเว่น ชู๊ต (KFC Seven Shoot)” เป็นการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน 7 คนทั่วประเทศ โดยจะเป็นโครงการที่จัดทำต่อเนื่องในทุกๆ ปีโดยเริ่มต้นขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเคเอฟซีและกลุ่มวัยรุ่นตอนต้นโดยใช้กีฬาเป็นสื่อกลาง โดยเคเอฟซีจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเด็กวัยรุ่น ครอบครัวและโรงเรียน
  • กลยุทธ์การทำตลาดใหม่เป็น Emotional Bonding หรือการสร้างความผูกพันธ์ด้านอารมณ์กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าหรือคิดถึงความสุขที่ได้รับจากการเข้ามาใช้บริการที่ เคเอฟซี ภายใต้แนวคิด ความสุขล้นเมนู
  • ใช้กลยุทธ์การทำตลาดทางด้านช่องทางขายของตลาดโฮมดีลิเวอรี่หรือบริการส่งถึงบ้าน สามารถสั่งได้ทั้งทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต
Above the line

โฆษณาทางโทรทัศน์











.

PRINT AD







.

Below the line
• มีการจัดเคเอฟซี seven shoot เป็นการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน 7 คน ที่เคเอฟซีประเทศไทยจัดขึ้นเป็นฟุตบอลเยาวชนทีมชาย รุ่นอายุ 15 ปี ครั้งที่ 1 เมื่อ ปี 2552 เพื่อให้เยาวชนไทยได้ออกกำลังกาย โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างความมัมพันธ์ระหว่างเคเอฟซี กับวัยรุ่นตอนต้น โดยใช้กีเป็นสื่อกลาง ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นกับโรงเรียน
• สนันสนุนการวิ่งการกุศลสมทบทุนซื้ออุปกรณ์กีฬาเนื่องในโอกาสครบรอบ 350 สาขา ของเคเอซี ในโครงการ “ แบ่งของขวัญ ปันน้ำใจ ” ทั่วประเทศ

1 ความคิดเห็น: