วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

MC

i'm lovin' it
ความเป็นมาของ McDonald's
แมคโดนัลด์ (McDonald's Corporation) เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครือร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ.​1948) โดยพี่น้องดิ๊กและแมคโดนัลด์เปิดเป็นร้านแฮมเบอร์เกอร์ชื่อว่า "แมคโดนัลด์" เป็นแบบไดร์ฟทรูในซานเบอร์นาดิโน ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่เริ่มนำระบบการบริการอย่างรวดเร็วเข้ามาใช้ในปี พ.ศ. 2491 ภายหลังทั้งสองได้ขายกิจการให้กับ นายเรย์มอนด์ อัลเบิร์ด คร็อก เพื่อนำไปขยายสาขา และเป็นต้นกำเนิดของร้านอาหารแบบฟาสต์ฟู้ดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทแมคโดนัลด์ได้นับเอาการเปิดร้านแฟรนไชส์สาขาแรก เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ.​1955) เป็นวันก่อตั้งบริษัท
ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีสาขากว่า 30,000 สาขาใน 121 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 50 ล้านคนต่อวัน เครือแมคโดนัลด์ยังประกอบธุรกิจร้านอาหารยี่ห้ออื่น และธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือไปจากร้านอาหาร เช่น ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีผลประกอบการ 20.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และกำไรสุทธิ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ตัวเลขปี พ.ศ. 2548) รูปแบบทั่วไปของร้านแมคโดนัลด์คือแบบเคาเตอร์และแบบ drive-through หรือขับรถเข้าไปซื้อโดยไม่ต้องลงจากรถ อาหารหลักที่ขายทั่วไปคือ แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ บิ๊กแมค เฟรนช์ฟราย ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม เป็นต้น

นโยบายหลัก
Ø Quality หมายถึง คุณภาพของอาหารที่ดีอย่างสม่ำเสมอ อาหารทุกชิ้นของแมคโดนัลด์มี การควบคุมคุณภาพ ดังจะเห็นได้จากการที่แมคโดนัลด์ มีฝ่ายตรวจสอบคุณภาพอาหาร ทำการตรวจสอบอาหารของแมคโดนัลด์ทุกสาขา ทุก ๆ สัปดาห์และทุก ๆ เดือน นอกจากนี้เพื่อเป็นการ ควบคุมอาหารให้มีความสด และอร่อยสำหรับลูกค้าอยู่เสมอ อาหารทุกอย่างของแมคโดนัลด์ หลังจากปรุงเรียบร้อยแล้ว จะถูกเก็บไว้ในที่เก็บอาหารชนิดพิเศษ (Transfer Bin) เพื่ออุ่นอาหารเตรียม บริการแก่ลูกค้า ด้วยความร้อนอย่างพอเหมาะ และถูกควบคุมไม่เกินเวลาที่กำหนด (Holding Time)
Ø Service หมายถึง การบริการที่รวดเร็วและเป็นมิตร พนักงานของแมคโดนัลด์ทุกคน ได้ถูกฝึกมาเป็นอย่างดีเพื่อให้ บริการแก่ลูกค้าอย่างรวดเร็ว เป็นมิตร และบริการที่ถูกต้องแม่นยำ ในการจัด อาหารตาม Order ที่แมคโดนัลด์เรามีเวลาเฉลี่ยมาตรฐาน ในการบริการให้ลูกค้าภายใน 60 วินาที และมีการทดสอบพนักงานอยู่สม่ำเสมอ
Ø Cleanliness หมายถึง ความสะอาด พนักงานทุกคนของแมคโดนัลด์ มีคติประจำใจ เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ "Clean as you go" สะอาดในทุก ๆ ที่ ที่ท่านอยู่ และเมื่อคุณออกจากที่ตรงนั้น พนักงานถูกสอนให้รักษาความสะอาด ในทุกที่ทุกเวลา ที่เขาอยู่ในร้านแมคโดนัลด์
Ø Value หมายถึง คุณค่าที่เรามอบให้ แมคโดนัลด์ตระหนักถึงความคุ้มค่าทางคุณภาพ บริการ และราคา ทุกอย่างที่เรามอบให้ลูกค้าเราเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าเสมอ
QSC&V นี้ แมคโดนัลด์เป็นสถานที่เติมเต็มความอิ่มอร่อย ให้แก่คนทั้งครอบครัว ด้วยอาหารนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นเบอร์เกอร์เนื้อ หมู ปลา ไก่ แมคนักเก็ตไก่ และไก่ทอด หรือไอศกรีมโคน และ ซันเด หลากรส
^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

ประเทศต่างๆที่มี McDonald’s จำหน่ายอยู่มีทั้งหมด 110 ประเทศ ดังนี้
1. (1940) United States
2. (1967) Canada - 1 June
3. (1967) Puerto Rico - 10 November
4. (1970) United States Virgin Islands - 4 September
5. (1970) Costa Rica - 28 December
6. (1971) Guam 10 June
7. (1971) Japan - 20 July - with the opening of an outlet in Tokyo the company established a presence in Asia for the first time.
8. (1971) Netherlands – 21 August - the first MacDonald's in Europe.
9. (1971) Panama – 1 September
10. (1971) West Germany – 22 November
11. (1971) Australia – 30 May - with the opening of an outlet in the Sydney suburb of Yagoona the company established a presence on the third new continent in the span of six months.
12. (1972) France – 30 June – including the possessions of Martinique 16 December 1991, Guadeloupe 8 April 1992, Réunion 14 December 1997, French Guiana 22 February 2000.
13. (1972) El Salvador - 20 July
14. (1973) Sweden – 27 October
15. (1974) Guatemala – 6 June
16. (1974) Netherlands Antilles 16 August - Aruba (then part of the Netherlands Antilles) 4 April 1985, Sint Maarten 15 December 1995
17. (1974) United Kingdom – 1 October - England 1 October 1974, (Powis Street, Woolwich, London) Wales 3 December 1984, Scotland 23 November 1987, (Reform Street, Dundee) Northern Ireland 14 October 1991,
18. (1975) Hong Kong - 8 January at Paterson Street
19. (1975) Nicaragua - McDonald’s outlets ceased operation during the Nicaraguan civil war and re-established a presence on 11 July 1998 after an absence of two decades.
20. (1975) The Bahamas – 4 August
21. (1976) New Zealand – 7 June
22. (1976) Switzerland - 20 October
23. (1977) Ireland – 9 May (Grafton Street, Dublin)
24. (1977) Austria – 21 July
25. (1978) Belgium 21 March
26. (1979) Brazil – 13 February - with the opening of an outlet in Rio de Janeiro the company established a presence on the continent of South America for the first time.
27. (1979) Singapore – 20 October at Liat Towers, Orchard Road.
28. (1981) Spain - 10 March
29. (1981) Denmark - 15 April
30. (1981) Philippines – 27 September
31. (1982) Malaysia – 29 April - with the opening of an outlet in Kuala Lumpur.
32. (1983) Norway – 18 November
33. (1984) Taiwan (Republic of China) – 28 January
34. (1984) Andorra – 29 June
35. (1984) Finland – 14 December
36. (1985) Thailand – 23 February
37. (1985) Luxembourg – 17 July
38. (1985) Venezuela – 31 August
39. (1985) Italy - 15 October
40. (1985) Mexico – 29 October
41. (1986) Cuba - 24 April - available only in Guantanamo Bay and inaccessible to Cuban citizens.
42. (1986) Turkey – 24 October
43. (1986) Argentina – 24 November
44. (1987) Macau - 11 April
45. (1988) Serbia – 24 March - the first outlet opened in Belgrade
46. (1988) South Korea – 29 March
47. (1988) Hungary – 30 April
48. (1990) Kazakstan - 1 May[citation needed]
49. (1990) Union of Soviet Socialist Republics - 31 January - (in Russian SFSR, now Russia)
50. (1990) People's Republic of China - 8 October - in Shenzhen [1]
51. (1990) Chile – 19 November
52. (1991) Indonesia – 23 February
53. (1991) Portugal - 23 May
54. (1991) Greece - 12 November
55. (1991) Uruguay - 18 November
56. (1992) Czechoslovakia - 20 March (in what is now the Czech Republic)
57. (1992) Poland - 17 June
58. (1992) Monaco - 20 November
59. (1992) Brunei - 12 December
60. (1992) Morocco – 18 December - with the opening of an outlet in Casablanca the company had expanded into Africa and had a presence on all continents except Antarctica.
61. (1993) Northern Mariana Islands 18 March
62. (1993) Iceland - 3 September
63. (1993) Israel - 14 October[2][3]
64. (1993) Slovenia – 2 December
65. (1993) Saudi Arabia – 8 December
66. (1994) Kuwait – 15 June
67. (1994) New Caledonia - 26 July
68. (1994) Oman – 30 July
69. (1994) Egypt – 20 October
70. (1994) Bulgaria – 10 December
71. (1994) Bahrain – 15 December
72. (1994) Latvia – 15 December
73. (1994) United Arab Emirates – 21 December
74. (1995) Estonia – 29 April
75. (1995) Romania – 16 June
76. (1995) Malta - 7 July
77. (1995) Colombia – 14 July
78. (1995) Slovakia – 13 October
79. (1995) South Africa – 11 November
80. (1995) Qatar – 13 December
81. (1995) Honduras – 14 December
82. (1996) Croatia – 2 February
83. (1996) Samoa – 2 March
84. (1996) Fiji – 1 May
85. (1996) Liechtenstein – 3 May
86. (1996) Lithuania - 31 May
87. (1996) India – 13 October
88. (1996) Peru – 18 October
89. (1996) Jordan – 7 November
90. (1996) Paraguay – 21 November
91. (1996) Dominican Republic - 30 November
92. (1996) Belarus - 10 December; the company claimed this as McDonald's "100th country" although this calculation included many non-sovereign territories
93. (1996) French Polynesia - 10 December - in Tahiti
94. (1997) Ukraine - 28 May
95. (1997) Cyprus - 12 June
96. (1997) Macedonia - 6 September
97. (1997) Ecuador - 9 October
98. (1997) Isle of Man - 15 December
99. (1997) Suriname - 18 December
100. (1998) Moldova - 30 April
101. (1998) Lebanon – 18 September
102. (1998) Pakistan – 19 September
103. (1998) Sri Lanka – 16 October
104. (1999) Georgia - 5 February
105. (1999) San Marino – 6 July
106. (1999) Gibraltar - 13 August
107. (1999) Azerbaijan - 6 November
108. (2000) American Samoa - 29 September
109. (2001) Mauritius - 4 July
110. (2004) Montenegro - June - the first outlet opened in Budva



สัญลักษณ์ของ McDonald’s
McDonald’s ใช้ตัวตลกโบโซ่ เป็นตัวแทนของ McDonald’s เป็นตัวตลกที่แสนตลกใจดี ชอบการร้องเพลง
และเป็นมิตร สามารถเข้าถึงจิตใจ เด็กได้เป็นอย่างดี เปรียบเสมือนเป็นภาพพจน์ของแมคโดนัลด์ต่อเด็กๆและเต้นรำ ในดินแดนแห่ง McDonald land ในตอนแรกยังไม่ได้มีชื่อเรียกเด็กๆรู้จักในนามของตัวตลกโบโซ่ จึงมีการตั้งชื่อขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า Archie McDonald ชื่อ Archie มีที่มาจาก Arches ซึ่งเป็นสัญลักษณ์โค้งของ McDonald’s แต่ว่าในตอนนั้นมีนักจัดรายการที่มีชื่อเสียง ชื่อว่า Archy McDonald อยู่ในชิคาโก Willard Scott ผู้แสดงเป็นตัวตลกโบโซ่ จึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า Ronald McDonald และได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม ปี 1963 มีรองเท้าเป็นรูปขนมปัง มีถ้วยเป็นจมูก มีถาดเบอร์เกอร์เป็นหมวกที่ทำมาจากฟองน้ำ มีหัวเข็มขัดเป็นรูปเบอร์เกอร์ รวมถึงยังมีเหล่าเพื่อนๆของ Ronald McDonald เช่น



การสื่อสารตราสินค้าผ่านโรนัลด์ แมคโดนัลด์
แนวคิดในการสร้างตราสินค้าผ่าน โดย โรนัลด์ แมคโดนัลด์จะมีส่วนทำให้ตราสินค้าแมคโดนัลด์ดูพิเศษขึ้น โดยการปรากฏตัว จะมีสัญลักษณ์ตัว m บนหน้าอก และด้านหลังเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นเจ้าของ การที่ลูกค้าเห็นตัว m ก็จะนึกถึงมากกว่าหนึ่ง และ “โรนัลด์ ฯก็เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ หรือ ตราแห่งความจำจด โรนัลด์ฯ ไม่ใช้ตราสินค้า แต่เป็นมากกว่าตราสินค้า เป็นตราแห่งการจดจำ”
โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เป็นมากกว่าตัวตลก คือ เป็น entertainer ดูเท่ห์ได้ สนุกแต่ไม่ตลกหรือดูโง่ ต้องสมาร์ท” ตัวตลกโรนัลด์ แมคโดนัลด์เป็นผู้บริหารความสุขระดับสูง (chief happyness officer) “การปรากฏตัวของโรนัลด์ฯ จึงต้องดี จะต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ หรือพิเศษจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้าน การฉลอง ถ้าเป็นการเปิดร้านก็จะมีคนไทยกับพี่โรนัลด์เปิดพร้อมกัน เพราะคนไทยนับถือคน แต่ถ้าเมืองนอก โรนัลด์ฯ คนเดียวเลยเพราะเป็นเจ้าของตราสินค้าโดยตรง”

ประวัติในประเทศไทยในปี พ.ศ.2528 นายเดช บุลสุข ผู้มีความประทับใจ ในรสชาติ และบริการของแมคโดนัลด์ เมื่อครั้งได้รับทุน American Field Service (AFS) ไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา ได้รับเลือกให้เป็น ผู้ร่วมดำเนินการร้านแมคโดนัลด์ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 35 ของโลก โดยมีสาขาแรกที่อัมรินทร์ พลาซ่า แมคโดนัลด์สาขาถนนราชดำเนิน ติดกับโรงเรียนสตรีวิทยา เป็นแมคโดนัลด์สาขาเดียวในโลกที่ป้ายหน้าร้านใช้พื้นสีน้ำตาล แทนที่จะเป็นสีแดงเหมือนที่อื่น ๆ เนื่องจากเหตุผลเรื่องการรักษาภาพลักษณ์สถาปัตยกรรมของอาคารริมถนนราชดำเนิน

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

4P’s

  • Product บริการอาหาร Fast Food ที่หลากหลาย เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ชีสเบอร์เกอร์ บิ๊กแมค เฟรนช์ฟราย ไก่ทอด สลัด ชุดอาหารเช้า ชุดอาหารสำหรับเด็กชื่อ แฮปปี้มีล และของหวานอีกหลายชนิด เช่น ไอศกรีม เป็นต้น ทั้งรสชาติดั้งเดิม และรสชาติใหม่ๆ ตั้งแต่กินเล่นๆฆ่าเวลา จนถึงกินอิ่มได้มื้อหนึ่ง รวมทั้งความต้องการ สถานที่นั่งสบายๆ ไว้นั่งรอ ไว้นัดพบเพื่อน นอกจากนี้ยังมีของเล่น ของสะสม ให้คุณเลือกได้ ไม่ซ้ำแต่ละอาทิตย์ เหมาะกับผู้ที่รักการเก็บสะสม

              • Price อาจจะแพง กว่าร้านอาหารปกติ แต่จะมีชุดสุดคุ้มหลายรูปแบบ

              • Place แต่ละสาขาของ McDonald’s มักจะมีทำเลที่สะดวกในการให้บริการและมีกระจายอยู่อย่างครอบคลุมในแต่ละประเทศที่มี McDonald’s เช่น สนามบิน หรือเปิดร้านในที่ที่เป็นชุมชน

              • Promotion แต่ละประเทศนั้นการส่งเสริมการขายของทาง Mc นั้น ค่อนข้างที่จะหลากหลาย คือมีการทำเกี่ยวกับเมนูพิเศษ เช่น บิ๊กแมคในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม (ในไทยจะเป็นเนื้อวัวแต่ในประเทศอื่นๆเป็นเนื้อแกะ เนื้อไก่ ฯลฯ) มีการจัดทำชุดสุดคุ้ม เพื่อจ่ายครั้งเดียว ได้ทั้งอาหารหลัก เครื่องเคียง(เฟรนฟรายส์) และน้ำดื่ม(Coke, Fanta, Sprite) อีกทั้งชุดเหล่านั้นยังมีราคาที่ถูกกว่าปกติ ในส่วนถัดมาคือ การโฆษณาทางโทรทัศน์ การแจกใบปลิว ฯลฯ

              ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

              แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ McDonalds
              • แมคโดนัลด์ใช้คอนเซ็ปต์การตลาดแบบ Brand Journalism ด้วยการสื่อเรื่องราวหลากมุม หลายเซ็กเมนต์ผ่านแบรนด์ เสมือนเป็นการบันทึกข่าวเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับแมคโดนัลด์ทั่วโลกเพื่อตอกย้ำการรับรู้ของบริโภคแต่ละตลาดที่หลากหลาย ฉีกกฎเกณฑ์สร้างแบรนด์แบบเก่าที่วางตำแหน่งแบรนด์แบบมุมมองเดียว ระบุหมดยุคการตลาดแบบแมสที่ใช้คอนเซ็ปต์การสื่อข้อความเดียวใช้ทั่วโลก เพราะโฆษณาชิ้นเดียวไม่สามารถบอกเรื่องราวได้ทั้งหมด พร้อมใช้เน็ตเวิร์กของแมคฯ ที่มีอยู่ทั่วโลกสร้างสรรค์งานด้านโฆษณาและการตลาดแทนการพึ่งเอเยนซี่ใดเพียงที่เดียว

              Brand Journalism ที่ดีต้องมีหลัก 3 ประการ คือ
              1.Surprise - การสร้างความประหลาดใจ การคาดเดาได้เป็นศัตรูของความน่าสนใจของแบรนด์ การเปิดตัว I’m lovin it. พร้อมเพลงฮิพฮอฟเป็นวิธีสื่อสารที่จะสร้างความประหลาดใจเพื่อให้ทราบว่าเรากำลังเปลี่ยนแปลงเราสื่อทัศนคติใหม่เกี่ยวกับแบรนด์ผ่านวิธีการที่สร้างความประหลาดใจ เช่นโฆษณาใหม่ แพ็กเกจใหม่ ดีไซน์ร้านใหม่ สินค้าใหม่ โปรโมชันใหม่ ชุดพนักงานใหม่และอื่นๆ ที่สามารถสื่อสารได้
              2. Delight - ความชื่นชอบ มีเพียงไม่กี่สิ่งที่สร้างความชื่นชอบพึงพอใจได้อย่างดนตรีซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเปิดตัวทัศนคติใหม่ของแบรนด์เรา เพลงของเราติดชาร์ต Total Request Live ของ MTV อันดับ 2 มีนักร้องชื่อดังทั่วโลกร้องเพลงของเรา เช่น Justin Timberlake, Tony Santos ในสเปน Lee Holm Wongในจีน และเสนอการดาวน์โหลดเพลงของโซนี่มิวสิกฟรีเมื่อซื้อบิ๊กแมค
              3. Unique – ความเป็นเอกลักษณ์ของแมคโดนัลด์ ซึ่งแมคโดนัลด์สิ่งที่มีเอกลักษณ์หลายอย่างที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก เช่น บิ๊กแมค, เฟรนฟรายส์, ตัวอักษร M สีทอง, โรนัลด์ แมคโดนัลด์, แฮปปี้มีล สินค้าเด็ก เช่น ของเล่น วิดีโอเกม และซีดีซึ่งล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์

              • แมคโดนัลด์นับเป็นรายแรกๆ ในตลาด QSR (Quick Service Restaurant) ที่หันมาโปรโมตเมนูอาหารเช้าอย่างจริงจัง มีจำนวนคนที่เข้าร้านเพิ่มขึ้น นับว่ากลยุทธ์นี้ของแมคโดนัลด์นั้นประสบความสำเร็จทั่วโลก
              • McDonald’s มุ่งเน้นในความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง มีการปรับเปลี่ยนลักษณะของอาหารให้เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ รวมไปถึงวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน
              • แมคโดนัลด์ยังให้ความสำคัญกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์และทำการตลาดผ่านทางสื่อใหม่ๆ อย่างสื่อดิจิตอล ทั้งอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยเล็งเห็นว่า เป็นช่องทางที่จะทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกจังหวะในเวลาที่เหมาะสมมากที่สุด
              • McDonald’s ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายนอกให้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็รักษาจุดแข็งของตนเองในเรื่อง คุณภาพ (Quality) และ ความสม่ำเสมอในสินค้าและบริการ (Consistency) ให้ได้ และพยายามสร้าง Competitive Advantage ให้เป็น Sustainable Competitive Advantage(ความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน) โดยใช้ความสามารถหลักที่บริษัทได้จากการบริหารจัดการส่วนผสมทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของการผลิต การตลาด การบริการ การค้นคว้าและวิจัยและพัฒนา ประกอบกันเพื่อให้ McDonald’s เป็นผู้นำธุรกิจฟาสต์ฟู้ดต่อไป
              • สำหรับกลยุทธ์การตลาด แมคโดนัลด์ใช้ทั้งกิจกรรม Above the line และ Below the line โดยมุ่งติดต่อกับผู้บริโภคในทุกจุด

              Above the line
              โฆษณาทางโทรทัศน์









              .
              Print Ad























              .
              Out Of Home













              เป็นสื่อโฆษณาที่เล่นกับป้ายรถประจำทาง เป็นการบอกว่าเป็นสถานีแห่งความอร่อย





















              เล่นกับตู้โทรศัพท์ และใช้โฆษณาโดยใช้เครื่องหมายยืนยันความปลอดภัยที่ผ่านการรับรอง ว่าเป็นอาหารที่สะอาด มีคุณภาพได้มาตรฐาน


              Below the line
              • Ronald Visit เป็นการไปเยี่ยมเด็กๆที่ป่วยตามโรงพยาบาลหรือมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ที่ได้มีจัดตั้ง
              • Ronald Community by stores จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของทางร้านโดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การเปิดสาขาใหม่ โรนัลด์ ก็มีหน้าที่ไปเปิดร้าน หรือรวมไปถึงการเปิด เคมเปญใหม่ต่างๆโรนัลด์ฯก็จะมีส่วนร่วมในการสร้างความบันเทิงอีกด้วย
              • Ronald Community by PR จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์เฮาส์ โดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การมอบทุนการศึกษา การมอบห้องแห่งความสุขให้กับโรงพยาบาล การทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ
              • สนับสนุนสุขภาพนันทนาการและโปรแกรมอื่นๆในชุมชน
              • ให้ความช่วยเหลือในระหว่างหายนะภัยธรรมชาติและอื่นๆภาวะฉุกเฉิน
              • การสนับสนุนโรงเรียนในท้องถิ่นและให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา
              • สนับสนุน Ronald McDonald บ้านกุศล

              ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

              แนวคิดการตลาดและกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ McDonalds ในประเทศไทย
              1. แมคโดนัลด์นับเป็นรายแรกๆ ในตลาด QSR (Quick Service Restaurant) ที่หันมาโปรโมตเมนูอาหารเช้าอย่างจริงจังปัจจุบันมี 9 SKU (Stock Keeping Unit) เวลาผ่านไป 1 ปี ปรากฏว่ายอดขายเมนูอาหารเช้าเติบโต 35% และมียอด Guess Count หรือจำนวนคนที่เข้าร้านฯ เพิ่มขึ้น 18% นับว่ากลยุทธ์นี้ของแมคโดนัลด์ในไทยเดินตามรอยความสำเร็จของต้นแบบในต่างประเทศได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน
              2. กลยุทธ์หลักของแมคโดนัลด์คือกระตุ้นยอดขายในทุกช่วงของวันให้เพิ่มขึ้น หลังการโฟกัสเมนูอาหารเช้าอย่างเข้มข้นแล้ว จากนั้นในอีกไม่นานเราจะได้เห็นการรุกหนักในช่วงอื่นๆ ของวัน เช่น Snack Time และ Late Night โดยเฉพาะช่วงหลังซึ่งเป็นโอกาสทองของแมคโดนัลด์เพราะมีหลายสาขาที่เปิด 24 ชั่วโมง
              3. McDonald ทุ่มงบการตลาด 35 ล้านบาท ส่งแคมเปญชิมฟรีอาหารเช้า 100,000 ชุดลุยตลาดอาหารเช้าพร้อมปล่อยแคมเปญแจกคูปองชิมฟรีทั่วกรุงเทพฯ กับ Sausage Egg Burger ฟรี 100,000 ชุด
              4. สำหรับกลยุทธ์การตลาด แมคโดนัลด์ใช้งบการตลาดกว่า 20 ล้านบาท เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยได้ศึกษาความต้องการของลูกค้า และทำการสื่อสารกับลูกค้าแบบ 360 องศา โดยใช้ทั้งกิจกรรม Above the line และ Below the line โดยมุ่งติดต่อกับผู้บริโภคในทุกจุด เช่น ภาพยนตร์โฆษณา, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร UBC, ใบปลิว, และ สื่ออื่น ๆ ภายในร้าน รวมถึง กิจกรรมประชาสัมพันธ์

              Above the line
              โฆษณาทางโทรทัศน์









              .

              Print Ad



















              Below the line

              • Ronald Show at Stores เป็นการปรากฏตัวในร้านเช่น วันเกิดร้านครบรอบปีหรือการที่ร้านจัดกิจกรรมพิเศษต่างๆขึ้นภายในร้าน และทางร้านอาจมีการจัดทำการส่งเสริมการขายไปในตัว
              • Ronald Show at Schools เป็นการออกโชว์กับทางโรงเรียน โดยจะมีกิจกรรมโชว์การแสดงซึ่งทางร้านแมคโดนัลด์ก็จะเป็นคนประสานงานติดต่อไป
              • Ronald Visit เป็นการไปเยี่ยมเด็กๆที่ป่วยตามโรงพยาบาลหรือมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮาส์ ที่ได้มีจัดตั้งแล้ว
              • Ronald Club Meeting เป็นการจัดกิจกรรมเฉพาะให้กับสมาชิก โรนัลด์คลับโดยทางฝ่ายการตลาดจะเป็นผู้รับผิดชอบและเลือกสถานที่เป็นร้านแมค โดนัลด์ที่มีความเหมาะสมในการจัดกิจกรรม
              • Ronald Community by stores จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของทางร้านโดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การเปิดสาขาใหม่ โรนัลด์ ก็มีหน้าที่ไปเปิดร้าน หรือรวมไปถึงการเปิด เคมเปญใหม่ต่างๆโรนัลด์ฯก็จะมีส่วนร่วมในการสร้างความบันเทิงอีกด้วย
              • Ronald Community by PR จะเน้นเป็นการจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญของมูลนิธิ โรนัลด์ แมคโดนัลด์เฮาส์ โดยงานก็จะค่อนข้างใหญ่ เช่น การมอบทุนการศึกษา การมอบห้องแห่งความสุขให้กับโรงพยาบาล การทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ

              ไม่มีความคิดเห็น:

              แสดงความคิดเห็น